วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

Kathmandu Nepal

กาฐมาณฑุ (ภาษาเนปาล: काठमाडौं, อังกฤษKathmandu) เป็นเมืองหลวงของประเทศเนปาล และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดด้วย เป็นพื้นที่เมืองและชานเมืองที่มีประชากรประมาณ 3.2 ล้านคนในพื้นที่ 3 เมืองในหุบเขากาฐมาณฑุในเนปาลกลาง บนแม่น้ำบักมาติ(Bagmati) อีก 2 เมืองคือปาทาน (Patan) และภัคตปุระ (Bhaktapur) กาฐมาณฑุตั้งที่ 27°43' เหนือ 85°22' ตะวันออก (27.71667, 85.36667) เมืองนี้ยังได้รับการแข่งขันกีฬาภูมิภาคเอเชียใต้เป็นครั้งแรกอีกด้วย และเมืองนี้เป็นเมืองหลวงเมืองเดียวในโลกที่มีตำรวจจราจรเป็นตำรวจหญิง



เทพนรสิงห์ .. รูปลักษณ์ร่างกายเป็นสิงห์ หน้าเป็นคน มีกรงเล็บเป็นสิงห์ เป็นอวตารองค์ที่ ของพระนารายณ์ เพื่อมาปราบยักษ์ตนหนึ่งชื่อ หิรัณยกษิปุ – อ่านว่า หิ-รัน-ยะ-กะ-สิ-ปุ
ยักษ์ตนนี้มีความแค้นพระนารายณ์เนื่องจากพี่ชายนาม หิรัณยากษะ – อ่านว่า หิ-รัน-ยา-กะ-ษะ” ได้ไปขอพรขอฤทธิ์จากพระศิวะ พอบำเพ็ญเพียรจนแก่กล้า วันดีคืนดียักษ์ตนนี้ก็ม้วนแผ่นดินเล่น แล้วลงไปนอนตีพุงที่ใต้บาดาล ทำเอาเดือดร้อนกันไปทั่วทั้งโลก เพราะเกิดมืดมิดไปหมด … พระนารายณ์จึงอวตารมาปราบ ใช้เวลาพันปีจึงสำเร็จ
ยักษ์ หิรัณยกษิปุ” ผู้เป็นน้องเก็บความแค้นเอาไว้ในใจ บำเพ็ญพรตแก่กล้าขึ้น จึงไปขอพรพระพรหม หลายข้อคือ
หนึ่ง ขอให้ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา หรือสัตว์เดรัจฉาน ไม่สามารถฆ่ายักษ์ตนนี้ได้
สอง อาวุธใดๆในโลกก็ไม่สามารถฆ่าได้
สาม ขอให้ไม่มีวันตาย ทั้งกลางวันและกลางคืน
สี่ ไม่ตายทั้งในบ้าน และนอกบ้าน
พระพรหมประทานพรตามที่ยักษ์ตนนี้ขอ … ตั้งแต่นั้นมา ยักษ์ หิรัณยกษิปุ ก็อาละวาดเกเรไปทั้งสวรรค์และโลกมนุษย์ เหล่าเทวดาเดือดร้อนจึงไปร้องเรียนพระอินทร์ซึ่งเป็นประมุขของเทวดา ให้อัญเชิญพระนารายณ์มาปราบ ด้วยเหตุนี้พระนารายณ์จึงถูกปลุกขึ้นมาจากเกษียรสมุทร อวตารมาเป็นนรสิงห์ผู้ปราบยักษ์
นรสิงห์ ซึ่งไม่ใช่เทวดาหรือมนุษย์ .. จับตัวยักษ์ หิรัณยกษิปุ” มาที่ใต้ชายคา ซึ่งไม่ใช่ทั้งในบ้านหรือนอกบ้าน… ในเวลาโพล้เพล้ ที่ไม่ใช่กลางวันหรือกลางคืน … แล้วฉีกร่างยักษ์ขาดเป็นสองท่อนด้วยกรงเล็บ ที่ไม่ใช่อาวุธ

จัตุรัสกาฏมาณฑุ ดูร์บาร์แห่งนี้ นับเป็นวิถีแห่งความรุ่งโรจน์จากอดีต ที่ยังคงรูปร่างที่ตระการตามาจนถึงปัจจุบัน
ประกอบไปด้วยวัดและปราสาทเก่าแก่ ทั้งใหญ่และเล็กรวมกันกว่า 50 แห่ง เรียงรายกระจายกันอยู่เต็มพื้นที่ ซึ่งแสดงภาพของความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมของชาวเนปาล เนื่องจากเป็นสถานที่ที่กษัตริย์เนปาลประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชย์
สถานที่ที่น่าสนใจมีอยู่หลายแห่ง เช่น วัดเตะเลชุ สร้างโดยกษัตริย์มเหนทรา มัลละ (King Mahendra Malla)ในปี พ.. 2092 วัดกาฬ ไภราพ ซึ่งเป็นเทพแห่งการทำลายล้าง God of Destruction) กลองยักษ์ และวัดจากายนาถ (Jagannath Temple)

จัตุรัสแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในมรดกโลกโดยโดยองค์การยูเนสโกในปี พ.. 2522
พระราชวังของกษัตริย์เนปาล … เป็นพระราชวังที่สร้างและทำขึ้นจากไม้แกะสลักทั้งหลัง นับเป็นเป็นสิ่งก่อสร้างชิ้นเอกกลางเมืองที่ผสานแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมคลาสสิกสไตล์ยุโรป กับศิลปะพื้นเมืองไว้ด้วยกันอย่างลงตัว .. แม้จะดูแปลกตาไปบ้างสำหรับนครโบราณแห่งนี้



1 ความคิดเห็น:

  1. เป็นอีกประเทศหนึ่งที่น่าสนใจและน่าไปเที่ยว

    ตอบลบ