วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

อนุสัญญาไซเตส (CITES) กับการคุ้มครองสัตว์ป่าในไทย


  อนุสัญญาไซเตส (CITES) กับการคุ้มครองสัตว์ป่าในไทยอนุสัญญาไซเตส (CITES) กับการคุ้มครองสัตว์ป่าในไทย

 ความเป็นมา
          ไซเตส (Convention on International Trade in Endangered Species of. Wild Fauna and Flora, 1973-CITES) หมายถึง อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่า และพืชป่า ที่ใกล้สูญพันธุ์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ จัดให้มีกระประชุมนานาชาติขึ้น ที่กรุงวอชิงต้น ดี.ซี. และร่างอนุสัญญาไซเตสขึ้น มีประเทศที่เข้าร่าวมประชุมถึง 88 ประเทศและมีประเทศที่ลง นามรับรองและเห็นด้วยกับอนุสัญญาฉบับตี้ทันทีถึง 21 ประเทศ ประเทศไทยได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมในการประชุมครั้งนั้นด้วย แต่ได้ลงนามรับรองอนุสัญญาฉบับนี้ เมื่อปี พ.ศ.2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 เป้าหมายสำคัญของอนุสัญญาฉบับนี้คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลก เพื่อประโยชน์ แห่งมวลมนุษยชาติ โดยเน้นทรัพยกรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือที่มีการคุกคาม ทำให้ประมาณลดลงจน อาจจะสูญพันธุ์ไป วิธีการของการอนุรักษ์ที่ได้กล่าวไว้ในอนุสัญญาไซเตสนั้น ทำโดยสร้างเครือข่ายขึ้นทั่วโลกเพื่อควบคุม การค้าระหว่างประเทศ ทั้งสัตว์ป่าพืชป่าและผลิตภัณฑ์ แต่ไซเตสจะไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศสำหรับชนิดพันธุ์ ท้องถิ่น

หน้าที่ของไซเตส
       บทบาทและหน้าที่ของอนุสัญญาไซเตสที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในโลกที่ได้ร่วมลงนามรับรองในเงื่อนไข ที่ตกลงร่วมกันนั้น มีหน้าที่ดังนี้
  1. สมาชิกมีหน้าที่รักษาและบังคับใช้อนุสัญญาไซเตส มิให้มีการค้าสัตว์ป่า พืชป่าที่ผิดระเบียบอนุสัญญาฯ และจะต้องมีมาตรการลงโทษผู้ค้า ผู้ครอบครอง ริบของกลาง และส่งของกลางกลับแหล่งกำเนิด กรณีที่ทราบ แหล่งกำเนิด
  2. ต้องมีการตั้งด่านตรวจสัตว์ป่า พืชป่าระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมและตรวจสอบการค้าสัตว์ป่า พืชป่า และการขนส่งที่ปลอดภัยตามระเบียบในอนุสัญญาไซเตส
  3. ต้องส่งรายงานประจำปีเกี่ยวกับสถิติการค้าสัตว์ป่า พืชป่าของประเทศตนแก่สำนักเลขาอนุสัญญา ไซเตส
  4. ต้องจัดตั้งคณะทำงานฝ่ายปฎิบัติการ และคณะทำงานฝ่ายวิทยาการประจำประเทศ เพื่อควบคุม การค้าสัตว์ป่า พืชป่า
  5. มีสิทธิ์เสนอขอเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์ในบัญชี Appendix 1. 2 และ 3 ให้ภาคีพิจารณา
อนุสัญญาไซเตสคุ้มครองอะไรบ้าง
         การคุ้มครองตามอนุสัญญาฉบับนี้ ครอบคลุมทั้งสัตว์ป่าและพืชป่า โดยระบบใบอนุญาต ซึ่งหมายความ ว่า สัตว์ป่าที่อยู่ในการควบคุมของอนุสัญญาไซเตส จะต้องมีใบอนุญาตต่อไปนี้
  1. นำเข้า
  2. ส่งออก
  3. นำผ่าน
  4. ส่งกลับออก
     ชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ไซเตสควบคุมจะระบุไว้ในบัญชี หมายเลข 1, 2 และ 3 ของอนุสัญญาฯ โดยได้กำหนดหลักการไว้ดังนี้
ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 1 เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ห้ามค้าโดยเด็ดขาด เนื่องจากใกล้ สูญพันธุ์ ยกเว้นเพื่อการศึกษาวิจัย หรือเพาะพันธุ์ ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่นำเข้าเสียก่อน ประเทศ ส่งออกจึงจะออกใบอนุญาติส่งออกได้ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆ ด้วย ชนิดพันธุ์ของไทย เช่น กระทิง จระเข้น้ำจืด จระเข้น้ำเค็ม ช้างเอเชีย เสื่อโคร่ง แรด หมีควาย สมเสร็จ เต่าหลายชนิด กล้วยไม้หายาก บางชนิด และทั่วไป เช่น อุรังอุตัง กอริลลา หมีแพนด้ายักษ์ ปลาวาฬยักษ์ เสือซีตาร์ เสือโคร่ง เต่าทะเล นกกระเรียน

ชนิดพันธุ์หมายเลข 2 เป็นพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ยังไม่ถึงกับใกล้สูญพันธุ์ จึงยังอนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหายหรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้สูญพันธุ์ โดยประเทศที่ส่ง ออกต้องออกหนังสืออนุญาตให้ส่งออกและรับรองว่าการส่งออกแต่ละครั้งจะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงชีวิต ของชนิดพันธุ์นั้น ๆในธรรมชาติ เช่น ค้างคาวแม่ไก่ทุกชนิด ลิง ค่าง นกหลายชนิด ชะมด นาก ปลาโลมา งูหลายชนิด พืชประเภทหม้อข้าวหม้อแกงลิง ฯลฯ

ชนิดพันธุ์หมายเลข 3 เป็นชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่ง แล้ว ขอความร่วมมือประเทศภาคี ช่วยดูแลในการนำเข้า คือ จะต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกจากประเทศถิ่นกำเนิด เช่น ควาย (เนปาล) นกขุนทอง (ไทย)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น