วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วอลแตร์

วอลแตร์ (Voltaire 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2237 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีชื่อเดิมว่า ฟรองซัวส์ มารี อรูเอต์ (François-Marie-Arouet) เกิดที่กรุงปารีสเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2237 (ค.ศ. 1694) ในตระกูลคนชั้นกลาง
วอลแตร์เป็นคนมีการศึกษาดี ฉลาด มีไหวพริบ และมีความสามารถพิเศษทางวรรณศิลป์ เมื่อเขาเข้าศึกษาในโรงเรียนหลุยส์-เลอ-กรอง (Louis-le-Grand) ที่ มีชื่อของพระนิกายเยซูอิต ทำให้วอลแตร์มีความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ร่วมสมัย การเมือง ตลอดจนวรรณกรรมของนักเขียนกรีกโรมัน ซึ่งมีอิทธิพลทำให้เขามีรสนิยมแบบคลาสสิก เมื่อเขาจบการศึกษาวอลแตร์ก็ทำงานเป็นทนายความ แต่ความที่เขาเป็นคนหัวแข็ง จึงไม่ชอบอาชีพนี้เลย เพราะเขาคิดว่าเป็นตำแหน่งที่ “ซื้อเอาได้เขาอยากทำงานที่ “ไม่ต้องซื้อหา
เมื่ออายุ 20 “วอลแตร์หันมาเขียนหนังสือเสียดสีสังคม แม้ว่าเขาจะคบหาสมาคมกับชนชั้นสูง ปี พ.ศ. 2260 เขาเขียนกลอนล้อเลียนผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (Duc d’Orlรฉans) ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จึงถูกจำคุกบาสตีย์ ขณะอยู่ในคุกเขาเขียนบทละครโศกนาฏกรรมเรื่องแรกขึ้นชื่อ เออดิปป์ (ล’dipe) ละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จ และทำวอลแตร์มีฐานะทัดเทียมกับกอร์เนย และ ราซีน นักเขียนบทละครโศกนาฏกรรมแห่งศตวรรษที่ 17
วอลแตร์ได้ใช้ชีวิตอย่างหรูหราในราชสำนัก และใช้ชื่อ วอลแตร์ (Voltaire) ชื่อที่เขาคิดขึ้นแทนชื่อเดิม
ปี พ.ศ. 2269 วอลแตร์ถูกขังคุกอีก และถูกเนรเทศไปอังกฤษ ทำให้เขาได้มีศึกษาปรัชญาของ จอห์น ล็อก (John Locke) และผลงานของ วิลเลียม เชกสเปียร์
ที่มีอิทธิพลต่องานละครและผลงานอื่นของเขาในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก บทละครของวอลแตร์ที่ได้รับอิทธิพลจากเช็คสเปียร์ คือ Zaïre และ Brutus เพียงปีเดียวในประเทศอังกฤษ เขาก็มีผลงานเขียนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ Essay Upon Epic Poetry นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2271 (ค.ศ. 1728) เขาก็ได้พิมพ์มหากาพย์ชื่อ La Henriade เพื่อสดุดีพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ในฐานะกษัตริย์ที่ทรงขันติธรรมในด้านศาสนา เนื่องจากทรงเป็นผู้บัญญัติ “L’Edit de Nantes” ซึ่ง เป็นกฎหมายที่ช่วยให้สงครามระหว่างพวกคาธอลิกและโปรแตสแตนท์ยุติลงได้ ซึ่งมหากาพย์นี้ไม่สามารถตีพิมพ์ในประเทศ ฝรั่งเศสเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของราชสำนัก รัฐสภาและพระสันตะปาปา
ผลงานของวอลแตร์มีจำนวนมากมาย หลากหลายประเภททั้งบทละคร นิยาย นิทานเชิงปรัชญา ประวัติศาสตร์ และบทกวี เขา ได้รับยกย่องจากคนร่วมสมัยว่าเป็นนักเขียนบทละครชั้นนำและกวีชั้นนำ แต่ในปัจจุบันเขากลับเป็นที่ยกย่องในฐานะนักเขียนเชิงเสียดสี วิพากษ์วิจารณ์ (Le symbole de l’esprit critique) ผล งานของเขาส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ความคิดทางปรัชญาไปสู่สาธารณชน เพื่อปลุกความคิดวิพากษ์วิจารณ์ให้แก่ชาวฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านความคิดระบบสถาบันแบบเก่า การต่อสู้เพื่อขจัดความ อยุติธรรมในสังคม   ผลงานที่สำคัญ   เป็นผู้นำเสนอความคิดออกมาในงานเขียนแนววิจารณ์การเมือง   งานเขียนที่มีชื่อเสียง คือ Letters on the English(จดหมายปรัชญา)                                                                                                      จดหมาย จากอังกฤษ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จดหมายปรัชญา ซึ่งเป็นผลงานชิ้นแรกที่สร้างชื่อให้วอลแตร์นั้น เขียนในรูปจดหมายสมมุติ ๒๕ ฉบับ เนื้อหาเล่าถึงสังคมอังกฤษผ่านสายตาของผู้เขียน โดยที่วอลแตร์ใช้สังคมดังกล่าว เป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้อ่านคิดเปรียบเทียบกับสังคมฝรั่งเศส จึงเป็นธรรมดาที่ดินแดนอังกฤษ ตามบทพรรณนาในจดหมาย จะเลอเลิศไปด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนา ความสมดุลของอำนาจทางการ เมือง สภาพปลอดอภิสิทธิในที่ดิน ความเสมอภาคในการเสียภาษี ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนตรงกันข้ามกับสภาวะที่เป็นอยู่ในฝรั่งเศส (และแน่นอนว่า ผู้เขียนจดหมายย่อมมองข้ามข้อบกพร่องทั้งหลาย ของสังคมอังกฤษ เพื่อขับเน้นแต่ด้านที่เป็นอุดมคติ) วอลแตร์ได้สอดแทรกการโจมตีการเอารัดเอาเปรียบประชาชน ในระบอบศักดินาเอาไว้ไม่น้อย เราลองมาฟังตัวอย่างคารมของเขาดังต่อไปนี้
"สามัญ ชนอันเป็นคนจำนวนมากที่สุด มีคุณธรรมที่สุด และควรแก่การเคารพยกย่องที่สุด อันประกอบไปด้วยผู้ศึกษากฎหมาย และวิทยาศาสตร์ พ่อค้า ช่างฝีมือ และชาวนา ผู้ประกอบอาชีพอันสูงส่งแต่ไร้เกียรติ สามัญชนเหล่านี้ เคยได้รับการเหยียดหยามจากเจ้า และพระราวกับว่าเป็นสัตว์ (...) ต้องใช้เวลานับเป็นศตวรรษทีเดียว ที่จะสร้างความยุติธรรมให้แก่มนุษยชาติ ในอันที่จะทำให้ประจักษ์ว่า เป็นความสยดสยองยิ่ง ที่คนส่วนใหญ่เป็นผู้หว่านไถ แต่คนส่วนน้อย เป็นผู้ชุบมือเปิบเอาพืชผลนั้นไป" 
จากตัวอย่างนี้ เราคงไม่ประหลาดใจนัก ที่ทราบว่า เมื่อหนังสือดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ วอลแตร์ก็ถูกหมายจับทันที (แต่เขาไหวตัวหนีไปได้เสียก่อน) ศาลสูงฝรั่งเศส สั่งให้เผาหนังสือทั้งหมดด้วยข้อหา "ยุยง ให้เสื่อมศีลธรรม เป็นอันตรายต่อศาสนา และสังคมอันเป็นระเบียบ"จดหมายจากอังกฤษ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของงานเขียนเสียดสีสังคม ต่อมา วอลแตร์ได้ลับปากกาให้คมขึ้นอีก เมื่อเขาหันมาใช้รูปแบบนิยาย ที่ให้ตัวละครเอก ผจญวิบากกรรมในดินแดนไกลโพ้น ซึ่งนิยายรูปแบบนี้เรียกว่า ไพรัชนิทาน (exotic tale) แน่นอนว่า ประเทศไกลตัวทั้งหลาย ถูกใช้เป็นเครื่องบังหน้า สำหรับวิพากษ์วิจารณ์ฝรั่งเศสนั่นเอง นอกจากนี้ วอลแตร์ยังได้ผสมผสานแนวผจญภัยลุ่ม ๆ ดอน ๆ เข้ากับแนวเรียนรู้ชีวิตไว้ในนิยายของเขาได้อย่างน่าทึ่ง
อิทธิพลของวอลแตร์ 
ผลงานตลอดชีวิตของวอลแตร์ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าความคิดวิพากษ์วิจารณ์” (L‘esprit critique) แก่ ชาวฝรั่งเศสโดยรวม ความคิดวิพากษ์วิจารณ์นี้ทำให้ชาวฝรั่งเศสตั้งคำถามต่อทุกเรื่องทุก เหตุการณ์ที่ปรากฏในสังคมของตน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาบันการเมืองการปกครอง โดยเขาได้โจมตีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถาบันกษัตริย์ การใช้อำนาจตามอำเภอใจของกษัตริย์ สถาบันศาสนา โจมตีคำสอนความเชื่อที่งมงาย เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น