วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประเทศอียิปต์


สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์(Egypt) (อาหรับ: مصر (มิศรุ), ถ่ายเขียนเป็นอักษรโรมันว่า Mişr หรือ Maşr ในภาษาถิ่นของอียิปต์) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด
ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 กม.² ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรซีนาย (ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง
ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 กม.2) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง
ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ
ชื่อ Egypt มาจากชื่อภาษาละตินว่า Aegyptus และชื่อภาษากรีก ว่า Αιγυπτος(Aiguptos: ไอกึปตอส นิยมใช้ในภาษาไทยว่า ไอยคุปต์) จากภาษาอียิปต์โบราณว่า Hi-ku-ptah: ฮิ-คุ-ปตาห์ ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองเทเบส

รัฐบาลอียิปต์ปัจจุบันต้องเผชิญภาระที่หนักหน่วงในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีหนี้สินอยู่ประมาณ 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ อียิปต์ประสบปัญหาด้านระบบราชการและรัฐวิสาหกิจซึ่งมีขนาด ใหญ่และเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจ อัตราการเพิ่มของประชากรค่อนข้างสูง รัฐบาลอียิปต์ได้ใช้ความพยายามที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจ ให้มีการค้าเสรี การแปรรูปกิจการของรัฐไปสู่ภาคเอกชน ส่งเสริมการลงทุน กระตุ้นรัฐวิสาหกิจให้เพิ่มผลผลิต ผลเลิกการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อียิปต์ได้ขอความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลกParis Club รวมทั้งจากประเทศกลุ่มอาหรับอียิปต์ได้ทำการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยใช้นโยบายเศรษฐกิจการตลาดให้มีการค้าเสรี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ยกเลิกควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสะดวกขึ้น
ผลจากการปฏิรูปดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจของอียิปต์กระเตื้องดีขึ้นสามารถ แก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณลดลงมาก ลดปัญหาเงินเฟ้อลงได้ในระดับหนึ่งรายได้หลักของอียิปต์จากน้ำมันซึ่งผลิตได้วันละ 950,000 บาร์เรลและส่งออกขายครึ่งหนึ่ง ในแต่ละปีมีรายได้ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการท่องเที่ยว ประมาณปีละ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าผ่านคลองสุเอซปีละประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากแรงงานอียิปต์ในต่างประเทศ ประมาณ 5 ล้านคน ส่วนใหญ่ทำงานในตะวันออกกลางในซาอุดีอาระเบียประมาณ 1 ล้านคน ในลิเบียประมาณ 1.5 ล้านคน ส่งเงินเข้าอียิปต์ประมาณปีละ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ภายหลังการก่อวินาศกรรมในสหรัฐ ฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทำให้อียิปต์ต้องสูญเสียรายได้ ประมาณ 1.5 – 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลอียิปต์ คาดว่า รายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงประมาณ ร้อยละ 20 และการส่งออก ร้อยละ 10
ในอดีตชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าและมีกษัตริย์ที่เรียกว่า ฟาโรห์ และในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย พระเจ้าอโศกได้ทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอียิปต์และได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตเมืองอเล็กซานเดรีย  แต่ในปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ 94% นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ อีก 6% นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคอปติก



ช่วงปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) สมัยประธานาธิบดีนัสเซอร์ อียิปต์เน้นความเป็นปึกแผ่นในกลุ่มประเทศอาหรับ และพยายามเข้าไปมีบทบาทสำคัญในขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ซึ่งในช่วงนี้ อียิปต์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต ได้รับความช่วยเหลือทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหารจากสหภาพโซเวียต และเข้ายึดคลองสุเอซเป็นของรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) เพื่อหารายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมจากคลองสุเอซเป็นทุนสร้างเขื่อนอัสวาน
ปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) อียิปต์ส่งทหารไปยึดเมือง Sharm El-Shekh บริเวณตอนใต้ของแหลมไซนาย หลังจากได้เจรจาให้กองทหารนานาชาติถอนออกไปจากไซนายแล้ว พร้อมกับได้ทำการปิดช่องแคบ Tiran เพื่อมิให้อิสราเอลเดินเรือผ่าน การปฏิบัติการเช่นนี้ส่งผลให้เกิดสงครามหกวัน (Six – day War) กับอิสราเอล ฝ่ายอิสราเอลได้รับชัยชนะ อียิปต์และ พันธมิตรอาหรับได้สูญเสียดินแดน ได้แก่ ฉนวนกาซาและแหลมไซนายให้แก่อิสราเอล นับตั้งแต่ประธานาธิบดีซาดัตเข้าดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) ความสัมพันธ์บางประเทศในอาหรับ อาทิ ลิเบีย และซีเรีย เย็นชาลง อียิปต์หันไปพึ่งพาสหรัฐอเมริกา ให้ช่วยไกล่เกลี่ยในการเจรจาสันติภาพกับอิสราเอล
เมื่อเกิดสงคราม 18 วันจากกรณีอียิปต์ส่งทหารข้ามคลองสุเอซไปยึดครองดินแดนที่สูญเสียคืนการสู้รบได้ยุติลงโดยสหรัฐฯ เป็นผู้ไกล่เกลี่ย โดยได้ตกลงให้มีเขตปลอดทหารระหว่างเขตแดนของอียิปต์และอิสราเอล ภายใต้การควบคุมของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติซึ่งยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน อียิปต์หันไปพึ่งพาสหรัฐฯ มากขึ้น ยังผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์กับสหภาพโซเวียตถดถอยลง ในปี พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) อียิปต์ได้ยกเลิกสนธิสัญญามิตรภาพกับสหภาพโซเวียต และให้ที่ปรึกษาด้านการทหารของโซเวียตออกจากประเทศ ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่อียิปต์เพิ่มมากขึ้นจนถึงปัจจุบันปีละประมาณ 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ประธานาธิบดีซาดัตได้เดินทางไปเยือนอิสราเอล เมื่อปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) เพื่อเจรจาสันติภาพ และอียิปต์ได้มีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่แคมป์เดวิดเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) มีผลให้อียิปต์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล อิสราเอลยินยอมคืนดินแดนไซนายทั้งหมด (ยกเว้นทาบา) ให้แก่อียิปต์เมื่อปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) แต่ผลจากการลงนามดังกล่าวทำให้ประเทศอาหรับส่วนใหญ่ตัดความสัมพันธ์กับอียิปต์ และอียิปต์ถูกขับออกจากสันนิบาตอาหรับเมื่อประธานาธิบดีมูบารัคเข้าบริหารประเทศ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ได้พยายามดำเนินนโยบายที่จะนำอียิปต์กลับสู่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับกลุ่มประเทศอาหรับ ด้วยการดำเนินการในด้านต่าง ๆ อาทิ สนับสนุนขบวนการปาเลสไตน์ สนับสนุนอิรักในสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่าน สนับสนุนคูเวตในกรณีอิรักเข้ายึดครองคูเวต หลังจากนั้น ประเทศอาหรับต่าง ๆ ได้ปรับความสัมพันธ์ทางการทูตตามปกติกับอียิปต์ ในขณะเดียวกัน อียิปต์ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากสหรัฐฯ และชาติตะวันตกในการแสวงหาลู่ทางแก้ไขปัญหาตะวันออกกลาง ประธานาธิบดีมูบารัค ดำเนินบทบาทสำคัญในการประสานระหว่างกลุ่มอาหรับและ เป็นตัวเชื่อมในการเจรจากับอิสราเอลในปัญหาตะวันออกกลาง และพยายามแสดงบทบาทนำในกลุ่มประเทศอาหรับและแอฟริกา

























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น