วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร



หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต


สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
วิชาเอก-วิชาโทภาษาฝรั่งเศส
1. วัตถุประสงค์
1.3.1 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และมีทักษะในการใช้ภาษาฝรั่งเศส ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และ
การเขียนในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
1.3.2 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถทางวิชาการ พัฒนาความรู้ความเข้าใจทางด้านภาษา วรรณคดีและ
ศิลปวัฒนธรรมของชนชาติที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส สำหรับเป็นพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพ หรือการศึกษาขั้นสูงต่อไป
1.3.3 เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถนำหลักการและความคิดเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ของตน เเละเป็นบัณฑิตที่มี
คุณธรรมเเละจริยธรรม
2. ข้อกำหนดในการศึกษาสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเป็นวิชาสาขาระดับต้นของคณะฯ
นักศึกษาที่เลือกสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเป็นวิชาสาขาระดับต้นของคณะฯ จะต้องศึกษารายวิชาต่อไปนี้

  นักศึกษาที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ภาษาฝรั่งเศส
413 105 ภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้น 3 3(2-2-5)
413 106 การอ่านเบื้องต้น 1 3(3-0-6)
ทั้งนี้นักศึกษาต้องเรียนรายวิชา 413 101 ภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้น 1 และ 413 102 ภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้น 2
มาก่อนโดยนับหน่วยกิตเป็นวิชาเลือกเสรี     อนึ่ง นักศึกษาที่ไม่ได้เลือกเรียนสายศิลป์-ฝรั่งเศส แต่ได้ลงทะเบียนเรียนภาษาฝรั่งเศสเป็นวิชาเลือก มาแล้ว          ไม่เกิน 200 ชั่วโมงในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชา ภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้น 2 ได้โดยไม่ต้อง    ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 413 101 ภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้น 1 ทั้งนี้ต้องผ่านการพิจารณาของภาควิชาฯ

นักศึกษาที่มีพื้นฐานความรู้ภาษาฝรั่งเศส
413 108 ภาษาฝรั่งเศส 3 3(2-2-5)
413 109 การอ่าน 3(3-0-6)
ทั้งนี้นักศึกษาต้องเรียนรายวิชา 413 103 ภาษาฝรั่งเศส 1 และ 413 104 ภาษาฝรั่งเศส 2 มาก่อนโดยนับ
หน่วยกิตเป็นวิชาเลือกเสรี


3. ข้อกำหนดในการศึกษาสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเป็นวิชาเอก
3.1 นักศึกษาที่มีสิทธิ์เลือกสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเป็นวิชาเอก จะต้องศึกษารายวิชาต่อไปนี้เป็นวิชาสาขาระดับต้น
ของคณะฯ หรือวิชาเลือกเสรีมาก่อน และต้องได้ค่าระดับเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00

นักศึกษาผู้ไม่มีพื้นฐานความรู้ภาษาฝรั่งเศส
413 102 ภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้น 2 3(2-2-5)
413 105 ภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้น 3 3(2-2-5)
413 106 การอ่านเบื้องต้น 1 3(3-0-6)
413 107 การอ่านเบื้องต้น 2 3(3-0-6)
               

                     นอกจากนี้นักศึกษาจะต้องผ่านการสอบวัดความรู้ทางภาษาฝรั่งเศสของภาควิชาฯ และศึกษาภาษาฝรั่งเศส          เพิ่มเติมตามที่ภาควิชาฯ จัดสอนในช่วงปิดภาคเรียนภาคการศึกษาที่ 3 เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า  30 ชั่วโมง จึงจะมีสิทธิ์ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเอก-วิชาโท

นักศึกษาผู้มีพื้นฐานความรู้ภาษาฝรั่งเศส
413 104 ภาษาฝรั่งเศส 2 3(2-2-5)
413 108 ภาษาฝรั่งเศส 3 3(2-2-5)
413 109 การอ่าน 3(3-0-6)
3.2 นักศึกษาที่ศึกษาสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเป็นวิชาเอก ต้องศึกษารายวิชา ดังนี้
3.2.1 วิชาเอกบังคับ จำนวน 32 หน่วยกิต
3.2.2 วิชาเอกเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต
3.3 นักศึกษาที่ศึกษาสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเป็นวิชาเอก ต้องศึกษารายวิชาภาษาฝรั่งเศสเป็นหน่วยกิตสะสม
จำนวนไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ซึ่งนับรวมทั้งรายวิชาสาขาระดับต้น จำนวน 6 หน่วยกิต
และวิชาเอก จำนวน 54 หน่วยกิต



วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

น้ำตานองพนมเปญ เขมรนับหมื่นๆ ส่งกษัตริย์สีหนุสู่สรวงสวรรค์


พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระนโรดมสีหนุ มีขึ้นตามกำหนดเวลา 18.00 น. วันที่ 4 ก.พ.นี้ เป็นการสิ้นสุดการเดินทางยาวนานของบุคคลที่ได้รับการยกย่องเป็นรัฐบุรุษสำคัญคนหนึ่งของเอเชีย ทรงเป็นทั้งอดีตกษัตริย์ อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตประธานาธิบดี อดีตประธานแนวร่วมฝ่ายต่อต้านรัฐบาล อดีตประมุขในระบอบเขมรแดงอันโหดร้าย และอดีตผู้นำการต่อต้านระบอบใหม่ภายใต้การครอบงำของเวียดนาม ก่อนจะขึ้นครองราชย์อีกครั้งหลังสงครามสงบลงและทรงสละราชสมบัติในเดือน ต.ค.2547 สมเด็จฯพระสีหนุเสด็จสวรรคตเดือน ต.ค.2555 ในกรุงปักกิ่ง รวมพระชนมายุ 90 พรรษา. -- AFP Photo/Nicolas Asfouri.
       .
       ชาวเขมรนับหมื่นๆ คนร่ำไห้ด้วยความโศกสลดระหว่างพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระนโรดมสีหนุ อดีตกษัตริย์แห่งกัมพูชาที่มีขึ้นตามกำหนดเวลา 18.00 น. วันจันทร์ 4 ก.พ.นี้ ซึ่งบรรดาผู้นำ และแขกต่างประเทศ ข้าราชบริพาร และข้าราชการกับประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก สำนักข่าวของทางการรายงาน
      
       สมเด็จพระนโรดมบรมนาถสีหมุนี กษัตริย์กัมพูชา กับพระราชินีโมนิกมุนีนาถ พระราชมารดาทรงจุดพระเพลิงที่พระเมรุ และเสียงปืนใหญ่ 105 มม. ได้ยิงสลุต จำนวน 101 นัด เสียงดังกึกก้องไปทั่วอาณาบริเวณท้องพระเมรุ ที่อยู่ด้านหน้าพระราชวังเขมรินทร์ ส่งดวงพระวิญญาณสู่สวรรคาลัย สำนักข่าวกัมพูชากล่าว
      
       ผู้นำระดับสูงที่เข้าร่วมพระราชพิธี ประกอบด้วย สมเด็จอัครมหาธรรมโพธิศาลเจียซิม ประธานวุฒิสภา สมเด็จอัครมหาบุญญาจักรีเฮงสัมริน ประธานรัฐสภา และสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเตโชฮุนเซน นายกรัฐมนตรี รวมทั้งผู้นำรัฐบาล และผู้แทนจากประเทศกลุ่มอาเซียน ออสเตรเลีย แคนาดา จีน ฝรั่งเศส อินเดีย ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี
      
       ชาวพนมเปญนับหมื่นๆ คนได้ทยอยเข้าถวายสักการะพระศพตั้งแต่เวลาเช้าวันเดียวกันซึ่งทางการประกาศให้เป็นวัดหยุดแห่งชาติ และให้ลดธงลงเหลือ 1 ใน 3 เสา มาตั้งแต่วันศุกร์ที่ 1 ก.พ. ที่มีการอัญเชิญพระศพจากพระราชวังไปยังพระเมรุ ก่อนจะอัญเชิญไปตามขบวนแห่งที่มีความยาวถึง 2 กิโลเมตร และขบวนแห่ได้เคลื่อนผ่านจุดสำคัญหลายจุดของเมืองหลวง รวมเป็นระยะทาง 6 กม.
      
       ขบวนแห่ได้อัญเชิญพระศพกลับไปยังพระเมรุ เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป และแขกเหรื่อชาวต่างชาติ องค์การระหว่างประเทศได้เข้าถวายสักการะอีกครั้งหนึ่ง
      
       ตามกำหนดการนั้น กำลังจะมีพระราชิพิธีเก็บพระอังคารในวันที่ 5 ก.พ.นี้ ซึ่งเป็นวันที่ห้าของพระราชพิธี 1 สัปดาห์
      
       ในวันที่ 6 ก.พ. จะมีการจัดขบวนแห่พระอังคารไปลอยคงคาที่จัตุรมุข คุ้งน้ำอันกว้างขวางด้านหน้าพระราชวัง อันเป็นจุดที่แม่น้ำโตนเลสาปกับแม่น้ำบาสสัก ไหลบรรจบแม่น้ำโขง และวันที่ 7 จะอัญเชิญพระอังคารอีกส่วนหนึ่งไปบรรจุไว้ที่วัดพระแก้วมรกตภายในพระราชวัง ตามพระประสงค์ของอดีตพระประมุข
      
       สมเด็จพระนโรดมสีหนุ เสด็จสวรรคตในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 15 ต.ค.2555 ด้วยโรคพระหทัยล้มเหลว ขณะที่พระชามายุกำลังจะครบ 90 พรรษาในสิ้นเดือนเดียวกัน
      
       พระองค์ทรงมีพระประสูติกาลวันที่ 31 ต.ค.2465 เป็นพระโอรสพระองค์เดียวของพระองค์เจ้านโรดมสุรามฤทธิ์ (Prince Norodom Suramarit) กับพระองค์เจ้าหญิงศรีสุวัตกุสุมานารีรัตเสรีวัฒนา (Princess Sisowath Kossomak Narearath Serey Vatthana) และทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชาในเดือน เม.ย.2484 ขณะทรงมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษา ภายใต้การปกครองโดยฝรั่งเศส ก่อนจะทรงนำกัมพูชาไปสู่เอกราชในปี 2496
      
       ปี 2498 สมเด็จพระนโรดมสีหนุทรงสละราชสมบัติให้พระราชบิดา และทรงก่อตั้งพรรคสังคมราษฎร์นิยม (Samgkum Reastr Niyum) เพื่อการพัฒนาประเทศ พรรคชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นครองเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติ พระองค์ทรงเป็นนายกรัฐมนตรี และต่อมา เป็นประมุขแห่งรัฐ หลังจากพระราชบิดาเสด็จสวรรคต
       .
       
2

       


       


       ในวันที่ 18 มี.ค.2513 ขณะเสด็จฯ เยือนสหภาพโซเวียตรัสเซีย พล.อ.ลอนนอล ผู้บัญชาการกองทัพได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจโดยมีองค์การสืบราชการลับซีไอเอของสหรัฐฯ อยู่เบื้องหลัง ทำให้พระองค์ทรงรับตำแหน่งประธานแนวร่วมกัมพูชาฝ่ายต่อต้าน หรือ FUNK
      
       จนกระทั่งในเดือน เม.ย.2518 สมเด็จพระสีหนุได้กลายเป็นประธานาธิบดีประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย (Democratic Kampuchea) หรือ “ระบอบเขมรแดง” แต่ได้ทรงลาออกจากตำแหน่งในปีถัดมา
      
       เมื่อรัฐบาลเขมรแดงกลุ่มโปลโป้ท-เอียงสารี-เคียวสมพร ถูกกองทัพเวียดนามกับเขมรแดงแปรพักตร์ กลุ่มเพ็ญสุวรรณ-เฮงสัมริน-เจียซิมและฮุนเซน ขับออกจากกรุงพนมเปญ ในวันที่ 7 ม.ค.2522 สมเด็จพระสีหนุทรงเดินทางออกนอกประเทศ และเป็นผู้นำรัฐบาลผสมสามฝ่ายกัมพูชาประชาธิปไตยที่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติต่อสู้กับระบอบใหม่ในกรุงพนมเปญ ทีได้รับการปกป้องคุ้มครองจากทหารเวียดนามนับแสนคน
      
       สมเด็จพระนโรดมสีหนุเสด็จกลับกรุงพนมเปญในปี 2534 และในปี 2536 ก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา ก่อนสละราชสมบัติในเดือน ต.ค.2547 เพื่อเปิดทางให้พระราชโอรสขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาจนถึงปัจจุบัน
      
       หลังจากสละราชสมบัติ สมเด็จพระนโรดมสีหนุ เสด็จพระราชดำเนินไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนบ่อยครั้ง เพื่อทรงรับการถวายการตรวจพระสุขภาพ และรักษาพระวรกายหลังมีการตรวจพบว่าทรงเป็นมะเร็ง
      
       ตลอดเวลาในวิถีชีวิตทางการเมือง โลกตะวันสตกเรียกขานพระองค์ว่า “เจ้าชายปรอท” คือ บุคคลที่เก่งในการปรับตัวทางการเมืองเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
      
       สมเด็จพระนโรดมสีหนุ เคยอภิเษกสมรสรวม 6 ครั้ง มีพระราชโอรส-พระราชธิดา รวม 14 พระองค์ นอกจากการเมืองแล้ว ยังทรงสนพระทัยในภาพยนตร์ เคยเป็นผู้สร้าง และผู้กำกับเอง นอกจากนั้น ยังทรงพระนิพนธ์บทกวี และเพลงอีกจำนวนหนึ่งด้วย.
       .