อนุสัญญาไซเตส (CITES) กับการคุ้มครองสัตว์ป่าในไทยอนุสัญญาไซเตส (CITES) กับการคุ้มครองสัตว์ป่าในไทย
ความเป็นมา
ไซเตส (Convention on International Trade in Endangered Species of. Wild Fauna and Flora, 1973-CITES) หมายถึง อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่า และพืชป่า ที่ใกล้สูญพันธุ์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ จัดให้มีกระประชุมนานาชาติขึ้น ที่กรุงวอชิงต้น ดี.ซี. และร่างอนุสัญญาไซเตสขึ้น มีประเทศที่เข้าร่าวมประชุมถึง 88 ประเทศและมีประเทศที่ลง นามรับรองและเห็นด้วยกับอนุสัญญาฉบับตี้ทันทีถึง 21 ประเทศ ประเทศไทยได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมในการประชุมครั้งนั้นด้วย แต่ได้ลงนามรับรองอนุสัญญาฉบับนี้ เมื่อปี พ.ศ.2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 เป้าหมายสำคัญของอนุสัญญาฉบับนี้คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลก เพื่อประโยชน์ แห่งมวลมนุษยชาติ โดยเน้นทรัพยกรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือที่มีการคุกคาม ทำให้ประมาณลดลงจน อาจจะสูญพันธุ์ไป วิธีการของการอนุรักษ์ที่ได้กล่าวไว้ในอนุสัญญาไซเตสนั้น ทำโดยสร้างเครือข่ายขึ้นทั่วโลกเพื่อควบคุม การค้าระหว่างประเทศ ทั้งสัตว์ป่าพืชป่าและผลิตภัณฑ์ แต่ไซเตสจะไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศสำหรับชนิดพันธุ์ ท้องถิ่น
หน้าที่ของไซเตส
บทบาทและหน้าที่ของอนุสัญญาไซเตสที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในโลกที่ได้ร่วมลงนามรับรองในเงื่อนไข ที่ตกลงร่วมกันนั้น มีหน้าที่ดังนี้
- สมาชิกมีหน้าที่รักษาและบังคับใช้อนุสัญญาไซเตส มิให้มีการค้าสัตว์ป่า พืชป่าที่ผิดระเบียบอนุสัญญาฯ และจะต้องมีมาตรการลงโทษผู้ค้า ผู้ครอบครอง ริบของกลาง และส่งของกลางกลับแหล่งกำเนิด กรณีที่ทราบ แหล่งกำเนิด
- ต้องมีการตั้งด่านตรวจสัตว์ป่า พืชป่าระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมและตรวจสอบการค้าสัตว์ป่า พืชป่า และการขนส่งที่ปลอดภัยตามระเบียบในอนุสัญญาไซเตส
- ต้องส่งรายงานประจำปีเกี่ยวกับสถิติการค้าสัตว์ป่า พืชป่าของประเทศตนแก่สำนักเลขาอนุสัญญา ไซเตส
- ต้องจัดตั้งคณะทำงานฝ่ายปฎิบัติการ และคณะทำงานฝ่ายวิทยาการประจำประเทศ เพื่อควบคุม การค้าสัตว์ป่า พืชป่า
- มีสิทธิ์เสนอขอเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์ในบัญชี Appendix 1. 2 และ 3 ให้ภาคีพิจารณา
อนุสัญญาไซเตสคุ้มครองอะไรบ้าง
การคุ้มครองตามอนุสัญญาฉบับนี้ ครอบคลุมทั้งสัตว์ป่าและพืชป่า โดยระบบใบอนุญาต ซึ่งหมายความ ว่า สัตว์ป่าที่อยู่ในการควบคุมของอนุสัญญาไซเตส จะต้องมีใบอนุญาตต่อไปนี้
- นำเข้า
- ส่งออก
- นำผ่าน
- ส่งกลับออก
ชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ไซเตสควบคุมจะระบุไว้ในบัญชี หมายเลข 1, 2 และ 3 ของอนุสัญญาฯ โดยได้กำหนดหลักการไว้ดังนี้
ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 1 เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ห้ามค้าโดยเด็ดขาด เนื่องจากใกล้ สูญพันธุ์ ยกเว้นเพื่อการศึกษาวิจัย หรือเพาะพันธุ์ ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่นำเข้าเสียก่อน ประเทศ ส่งออกจึงจะออกใบอนุญาติส่งออกได้ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆ ด้วย ชนิดพันธุ์ของไทย เช่น กระทิง จระเข้น้ำจืด จระเข้น้ำเค็ม ช้างเอเชีย เสื่อโคร่ง แรด หมีควาย สมเสร็จ เต่าหลายชนิด กล้วยไม้หายาก บางชนิด และทั่วไป เช่น อุรังอุตัง กอริลลา หมีแพนด้ายักษ์ ปลาวาฬยักษ์ เสือซีตาร์ เสือโคร่ง เต่าทะเล นกกระเรียน
ชนิดพันธุ์หมายเลข 2 เป็นพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ยังไม่ถึงกับใกล้สูญพันธุ์ จึงยังอนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหายหรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้สูญพันธุ์ โดยประเทศที่ส่ง ออกต้องออกหนังสืออนุญาตให้ส่งออกและรับรองว่าการส่งออกแต่ละครั้งจะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงชีวิต ของชนิดพันธุ์นั้น ๆในธรรมชาติ เช่น ค้างคาวแม่ไก่ทุกชนิด ลิง ค่าง นกหลายชนิด ชะมด นาก ปลาโลมา งูหลายชนิด พืชประเภทหม้อข้าวหม้อแกงลิง ฯลฯ
ชนิดพันธุ์หมายเลข 3 เป็นชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่ง แล้ว ขอความร่วมมือประเทศภาคี ช่วยดูแลในการนำเข้า คือ จะต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกจากประเทศถิ่นกำเนิด เช่น ควาย (เนปาล) นกขุนทอง (ไทย)
ชนิดพันธุ์หมายเลข 2 เป็นพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ยังไม่ถึงกับใกล้สูญพันธุ์ จึงยังอนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหายหรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้สูญพันธุ์ โดยประเทศที่ส่ง ออกต้องออกหนังสืออนุญาตให้ส่งออกและรับรองว่าการส่งออกแต่ละครั้งจะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงชีวิต ของชนิดพันธุ์นั้น ๆในธรรมชาติ เช่น ค้างคาวแม่ไก่ทุกชนิด ลิง ค่าง นกหลายชนิด ชะมด นาก ปลาโลมา งูหลายชนิด พืชประเภทหม้อข้าวหม้อแกงลิง ฯลฯ
ชนิดพันธุ์หมายเลข 3 เป็นชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่ง แล้ว ขอความร่วมมือประเทศภาคี ช่วยดูแลในการนำเข้า คือ จะต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกจากประเทศถิ่นกำเนิด เช่น ควาย (เนปาล) นกขุนทอง (ไทย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น