พายุเซินตินห์
พายุเซินตินห์
หลายชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังต้องจัดการกับความเสียหายจากอิทธิฤทธิ์ของ“เซินตินห์” ที่ซัดถล่มฟิลิปปินส์และเวียดนามเมื่อช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา และคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 30 ศพ
สำนักข่าวแห่งรัฐเวียดนามนิวส์ รายงานว่าพายุเซินตินห์ กำลังเคลื่อนไหวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามชายฝั่งทางเหนือของเวียดนามในวันจันทร์(29) หลังจากถาโถมหอบหลังคาบ้านเรือนหว่าหลายร้อยหลังปลินว่อนและซัดกระหน่ำแนวป้องกันอุทกภัยตลอดทั้งคืน
เซินตินห์มีความรุนแรงระดับพายุไต้ฝุ่นตอนที่มันซัดขึ้นฝั่งทางเหนืของเวียดนาม ด้วยความแรงลม 133 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อช่วงค่ำวันอาทิตย์(28) ขณะที่สำนักงานคณะกรรมธิการช่วยเหลือและค้นหาแห่งชาติ ประมาณการณ์เบื้องต้นว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 รายและบาดเจ็บ 2 คน
ก่อนหน้านี้ไต้ฝุ่นเซินตินห์ ได้คร่าชีวิตผู้คน 27 ศพ ระหว่างที่มันซัดถล่มตอนกลางของฟิลิปปินส์ช่วงปลายสัปดาห์ก่อน โดยอิทธิพลของมันนำพามาซึ่งอุทกภัยและดินถล่มหลายพื้นที่ ขณะที่ทางหน่วยงานจัดการและลดความเสี่ยงภัยพิบติแห่งชาติฟิลิปปินส์ เผยว่าจนถึงตอนนี้ยังมีผู้สูญหายอีก 9 ราย
พายุ "เซิน ตินห์" ก่อตัวนอกชายฝั่งตะวันออกของฟิลิปปินส์ ทางการประกาศเตือนภัยฝนตกหนัก ขณะที่โซนร้อนศูนย์กลาง 75 กิโลเมตร/ชั่วโมง เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ สู่ทะเลจีนใต้ และทางตอนเหนือของเวียดนาม ส่วนไทยอาจได้รับผลกระทบเล็กน้อย...
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ 25 ต.ค.ว่า สำนักภัยพิบัติแห่งชาติฟิลิปปินส์ ประกาศเตือนภัยสภาพอากาศแปรปรวน อาจส่งผลให้ฝนตกหนักทางตอนเหนือของรัฐมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ หลังพายุโซนร้อน "เซิน ตินห์" ( Son-Tinh) เป็นภาษาเวียดนาม หมายถึงเทพเจ้าแห่งขุนเขาตามตำนานเทพของเวียดนาม ก่อตัวทางตะวันออกของประเทศ เข้าใกล้ชายฝั่งเกาะซิอาเกา รัฐคารากา อยู่ห่างเพียงแค่ 140 กิโลเมตร เมื่อ 07.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของเช้าวันพุธ 24 ต.ค. ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ภาคใต้ของฟิลิปปินส์สั่งระงับการเดินทางของผู้โดยสาร ทั้งทางเรือและทางอากาศหลายร้อยรายเพื่อความปลอดภัย ขณะนี้ศูนย์กลางพายุกำลังลมแรงราว 75 กิโลเมตร/ชั่วโมง และอาจทวีเป็น 85 กิโลเมตร/ชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวมาทางตะวันตกเฉียงใต้มุ่งสู่ทะเลจีนใต้ และตอนเหนือของเวียดนามภายใน 72 ชั่วโมง รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อไทยเล็กน้อย
อย่างไรก็ดี คาดว่าพายุดังกล่าวจะกลายเป็นไต้ฝุ่นหลังจากเคลื่อนออกจากทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์เพียงเล็กน้อย อนึ่ง ฟิลิปปินส์เผชิญพายุบ่อยครั้ง เนื่องจากตั้งอยู่ระหว่างแนวเข็มขัดไต้ฝุ่น (Typhoon Belt) ในแปซิฟิก แต่ละปีเผชิญพายุอย่างน้อย 21 ลูก.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น