วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

หลุมดำใหญ่กลาทะเล ลึกกว่า 200 เมตร

หลุมดำใหญ่กลาทะเล ลึกกว่า 200 เมตร



หลุมดำ ซึ่งที่ถูก ควรจะเรียกว่า หลุมน้ำเงิน (blue hole) เป็นถ้ำ หรือหลุมที่มีอยู่ในทะเล หลุมน้ำเงินดังกล่าวนี้ มีอยู่มากมายทั่วโลก โดยเฉพาะในทะเลแถบ บาฮามา และ ชายฝั่งทะเลของประเทศแบลิซ ทางตอนใต้ของเม็กซิโก

หลุมน้ำเงินนอกชายฝั่งเม็กซิโก ชื่อ ทามาวลิปาส (Tamaulipas) มีความลึกที่สุด ถึง 335 เมตร
ถัดมาคือหลุมน้ำเงินดีน(Dean's Blue Hole) อยู่นอกชายฝั่งบาฮามา ลึกประมาณ 202 เมตร

สำหรับหลุมน้ำเงินทีมีการกล่าวถึงมากที่สุดคือ หลุมน้ำเงินนอกชายฝั่งประเทศแบลิซ ที่มีรูปทรงเป็นวงกลมเกือบสมบูรณ์
หลุมน้ำเงินนี้ เชื่อกันว่า มีขนาดใหญ่ที่สุด คือปากหลุมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 300 เมตร ขณะที่มีความลึก 125 เมตร


  
                                             

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปรากฏการณ์แปลก ทะเลสาบสีชมพู (Lake Hillier)



ปรากฏการณ์แปลก ทะเลสาบสีชมพู (Lake Hillier)

  •                      ปรากฏการณ์แปลก ทะเลสาบสีชมพู

  •  เมื่อวันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา เว็บไซต์เดลิเมลของอังกฤษ เปิดเผยภาพปรากฎการณ์สุดน่าทึ่งของทะเลสาบในประเทศเซเนกัล ที่เปลี่ยนสีเป็นสีชมพูอันเนื่องมาจากแบคทีเรียปริมาณมากที่อาศัยอยู่ในน้ำเค็มจัดทำปฎิกิริยากับแสงอาทิตย์

              โดยทะเลสาบแห่งนี้ชื่อว่า ทะเลสาบเร็ตบา อยู่ในประเทศเซเนกัล ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา เป็นทะเลสาบที่มีปริมาณเกลือสูงมาก บางพื้นที่ของทะเลสาบมีเกลือถึง 40 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว และในน้ำทะเลแห่งนี้ ยังมีแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ผลิตสารสีแดงในการดูดซับแสงอาทิตย์ กระจายอยู่เต็มไปหมด จึงทำให้น้ำในทะเลสาบแห่งนี้เปลี่ยนเป็นสีแดงอ่อน ๆ ในตอนกลางวัน และยิ่งเมื่อทะเลสาบต้องแสงแดด มันก็ยิ่งกลายเป็นสีชมพูนมเย็นได้อย่างน่าทึ่ง

               ทางด้านนายไมเคิล แดนสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านแบคทีเรียเอ็กซตรีมโมไพล์ จากมหาวิทยาลัยบาธ ได้เปิดเผยว่า "สีนมสตรอเบอร์รี่ในทะเลสาบแห่งนี้ เกิดจากแบคทีเรีย Dunaliella ซึ่งชอบอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เค็มจัด พวกมันจะผลิตสารสีแดงออกมา เพื่อช่วยในการดูดซับพลังงานจากแสงอาทิตย์ ที่จะนำไปใช้ในการสร้างพลังงานมากขึ้น ดังนั้น เมื่อแดดออก น้ำทะเลก็เปลี่ยนเป็นสีชมพูอย่างที่เห็น และทะเลสาบเร็ตบาแห่งนี้ ก็เค็มเหมือนกับทะเลสาบเดดซี มันมีเกลือในปริมาณมาก จนทำให้เราลอยอยู่ในน้ำได้"

               นอกจากนี้ ไมเคิล แดนสัน ยังเปิดเผยอีกว่า ครั้งหนึ่ง ทะเลสาบเร็ตบาแห่งนี้ถูกเชื่อว่าเป็นทะเลสาบที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ เพราะมันเค็มมาก แต่ใครเลยจะรู้ว่า มันเป็นทะเลสาบที่มีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือจุลชีพ อาศัยอยู่มาก และมันก็มีชีวิตชีวามากเลยทีเดียว

  •            pink lake  senegal  ทะเลสาบสีชมพู
                                                      
                                 

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

อนุสัญญาไซเตส (CITES) กับการคุ้มครองสัตว์ป่าในไทย


  อนุสัญญาไซเตส (CITES) กับการคุ้มครองสัตว์ป่าในไทยอนุสัญญาไซเตส (CITES) กับการคุ้มครองสัตว์ป่าในไทย

 ความเป็นมา
          ไซเตส (Convention on International Trade in Endangered Species of. Wild Fauna and Flora, 1973-CITES) หมายถึง อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่า และพืชป่า ที่ใกล้สูญพันธุ์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ จัดให้มีกระประชุมนานาชาติขึ้น ที่กรุงวอชิงต้น ดี.ซี. และร่างอนุสัญญาไซเตสขึ้น มีประเทศที่เข้าร่าวมประชุมถึง 88 ประเทศและมีประเทศที่ลง นามรับรองและเห็นด้วยกับอนุสัญญาฉบับตี้ทันทีถึง 21 ประเทศ ประเทศไทยได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมในการประชุมครั้งนั้นด้วย แต่ได้ลงนามรับรองอนุสัญญาฉบับนี้ เมื่อปี พ.ศ.2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 เป้าหมายสำคัญของอนุสัญญาฉบับนี้คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลก เพื่อประโยชน์ แห่งมวลมนุษยชาติ โดยเน้นทรัพยกรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือที่มีการคุกคาม ทำให้ประมาณลดลงจน อาจจะสูญพันธุ์ไป วิธีการของการอนุรักษ์ที่ได้กล่าวไว้ในอนุสัญญาไซเตสนั้น ทำโดยสร้างเครือข่ายขึ้นทั่วโลกเพื่อควบคุม การค้าระหว่างประเทศ ทั้งสัตว์ป่าพืชป่าและผลิตภัณฑ์ แต่ไซเตสจะไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศสำหรับชนิดพันธุ์ ท้องถิ่น

หน้าที่ของไซเตส
       บทบาทและหน้าที่ของอนุสัญญาไซเตสที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในโลกที่ได้ร่วมลงนามรับรองในเงื่อนไข ที่ตกลงร่วมกันนั้น มีหน้าที่ดังนี้
  1. สมาชิกมีหน้าที่รักษาและบังคับใช้อนุสัญญาไซเตส มิให้มีการค้าสัตว์ป่า พืชป่าที่ผิดระเบียบอนุสัญญาฯ และจะต้องมีมาตรการลงโทษผู้ค้า ผู้ครอบครอง ริบของกลาง และส่งของกลางกลับแหล่งกำเนิด กรณีที่ทราบ แหล่งกำเนิด
  2. ต้องมีการตั้งด่านตรวจสัตว์ป่า พืชป่าระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมและตรวจสอบการค้าสัตว์ป่า พืชป่า และการขนส่งที่ปลอดภัยตามระเบียบในอนุสัญญาไซเตส
  3. ต้องส่งรายงานประจำปีเกี่ยวกับสถิติการค้าสัตว์ป่า พืชป่าของประเทศตนแก่สำนักเลขาอนุสัญญา ไซเตส
  4. ต้องจัดตั้งคณะทำงานฝ่ายปฎิบัติการ และคณะทำงานฝ่ายวิทยาการประจำประเทศ เพื่อควบคุม การค้าสัตว์ป่า พืชป่า
  5. มีสิทธิ์เสนอขอเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์ในบัญชี Appendix 1. 2 และ 3 ให้ภาคีพิจารณา
อนุสัญญาไซเตสคุ้มครองอะไรบ้าง
         การคุ้มครองตามอนุสัญญาฉบับนี้ ครอบคลุมทั้งสัตว์ป่าและพืชป่า โดยระบบใบอนุญาต ซึ่งหมายความ ว่า สัตว์ป่าที่อยู่ในการควบคุมของอนุสัญญาไซเตส จะต้องมีใบอนุญาตต่อไปนี้
  1. นำเข้า
  2. ส่งออก
  3. นำผ่าน
  4. ส่งกลับออก
     ชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ไซเตสควบคุมจะระบุไว้ในบัญชี หมายเลข 1, 2 และ 3 ของอนุสัญญาฯ โดยได้กำหนดหลักการไว้ดังนี้
ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 1 เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ห้ามค้าโดยเด็ดขาด เนื่องจากใกล้ สูญพันธุ์ ยกเว้นเพื่อการศึกษาวิจัย หรือเพาะพันธุ์ ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่นำเข้าเสียก่อน ประเทศ ส่งออกจึงจะออกใบอนุญาติส่งออกได้ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆ ด้วย ชนิดพันธุ์ของไทย เช่น กระทิง จระเข้น้ำจืด จระเข้น้ำเค็ม ช้างเอเชีย เสื่อโคร่ง แรด หมีควาย สมเสร็จ เต่าหลายชนิด กล้วยไม้หายาก บางชนิด และทั่วไป เช่น อุรังอุตัง กอริลลา หมีแพนด้ายักษ์ ปลาวาฬยักษ์ เสือซีตาร์ เสือโคร่ง เต่าทะเล นกกระเรียน

ชนิดพันธุ์หมายเลข 2 เป็นพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ยังไม่ถึงกับใกล้สูญพันธุ์ จึงยังอนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหายหรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้สูญพันธุ์ โดยประเทศที่ส่ง ออกต้องออกหนังสืออนุญาตให้ส่งออกและรับรองว่าการส่งออกแต่ละครั้งจะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงชีวิต ของชนิดพันธุ์นั้น ๆในธรรมชาติ เช่น ค้างคาวแม่ไก่ทุกชนิด ลิง ค่าง นกหลายชนิด ชะมด นาก ปลาโลมา งูหลายชนิด พืชประเภทหม้อข้าวหม้อแกงลิง ฯลฯ

ชนิดพันธุ์หมายเลข 3 เป็นชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่ง แล้ว ขอความร่วมมือประเทศภาคี ช่วยดูแลในการนำเข้า คือ จะต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกจากประเทศถิ่นกำเนิด เช่น ควาย (เนปาล) นกขุนทอง (ไทย)


วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

วันสตรีสากล


วันสตรีสากล

                  วันสตรีสากล มิเพียงแค่การเฉลิมฉลองเหมือนงานประเพณีที่มักทำติดต่อกันทุกปี หากจะเป็นการตระหนักร่วมและให้คุณค่าทางประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ของผู้ใช้ แรงงานหญิง และสืบทอดเจตนารมย์ที่ต้องการให้ผู้หญิงได้รับการปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัย จากความรุนแรง และยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ผู้ใช้แรงงานต้องได้รับการดูแลในด้านสวัสดิการ สุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งผู้หญิงต้องได้รับการปฏิบัติอย่างให้เกียรติและเท่าเทียมในฐานะที่ ผู้หญิงก็เป็นสมาชิกหนึ่งในสังคม


ประวัติความเป็นมา ของ "วันสตรีสากล" เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 (พ.ศ. 2400)
จากนั้นในปี ค.ศ.1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก
ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ "คลาร่า เซทคิน" นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมันตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย อย่างไรก็ตามแม้การเรียกร้องครั้งนี้ จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ "คลาร่า เซทคิน" และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น
ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1908 (พ.ศ. 2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อมๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง
จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย
ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของ "คลาร่า เซทคิน" ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็น วันสตรีสากล



                                          

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

Miriam Makeba


Miriam Makeba เป็นใคร ทำไม ได้ขึ้น logo google วันนี้

Miriam Makeba เป็นใคร ทำไม ได้ขึ้น logo google วันนี้ เนื่องจากวันนี้ เป็นวันครบรอบ วันเกิดปีที่ 81 ของ Miriam Makeba ศิลปินชาวแอฟริกา ที่สร้างชื่อเสียง จากเพลง patapata นั่นเอง

ในทศวรรษที่ 1960 เธอเป็นศิลปินคนแรกที่มาจากแอฟริกา เธอเป็นที่รู้จักดีสำหรับเพลง "พาต้าพาต้า" บันทึกเป็นครั้งแรกในปี 1957
และเปิดตัวในสหรัฐอเมริกาในปี 1967


เธอมีส่วนในการเข้าไปรณรงค์ต่อต้านการแบ่งแยกในแอฟริกาใต้ เป็นผลให้รัฐบาลแอฟริกาใต้เพิกถอนสิทธิการเป็นพลเมืองไปโดยสิ้นเชิง  และภายหลังเมื่อสิ้นสุดการแบ่งแยกสีผิว เธอจึงได้กลับบ้านเกิด อย่างถูกกฏหมาย

เธอเสียชีวิตวันที่ 9 พฤศจิกายน 2008 หลังจากการแสดงคอนเสิร์ตในอิตาลี ที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนนักเขียน Roberto Saviano ผู้ยืนหยัดต่อสู้กับองค์กร camorra หรือแก็งมาเฟียใหญ่ ในประเทศอิตาลี


                                              Miriam Makeba 04.jpg




วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

Passé récent


Passé récent ใช้แสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเพิ่งจบสิ้นไปในอดีต

รูปแบบ passé récent ง่ายมาก

รูปแบบ
Passé récent


                               



ตัวอย่าง
Je       viens de venir de  Bangkok.ฉันเพิ่งมาจากกรุงเทพ
Tu      viens de manger.เธอพึ่งกิน
Il        vient d’acheter une voiture.เขาเพิ่งซื้อรถ
Vous   venez de me dire la vérité.คุณเพิ่งบอกความจริงกับผม
Nous   venons de terminer les études.พวกเราเพิ่งเรียนจบ
Ils      viennent de répondre aux questions.พวกเขาเพิ่งตอบคำถาม


เทรนด์เต้นหมู่ ฮาร์เล็ม เชค Harlem Shake คืออะไร ?



เทรนด์เต้นหมู่ ฮาร์เล็ม เชค Harlem Shake คืออะไร ?




Harlem Shake เทรนด์เต้นหมู่แบบใหม่

  เทรนด์การเต้นหมู่“ ในปัจจุบันนั้นได้เกิดขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ ซึ่งแต่ละการเต้นนั้นจะมีรูปแบบ , ลักษณะเด่นที่แตกต่างกันออกไปตาม ไอเดีย เพลง ท่าเต้น หรือสถานที่เต้น มักจะทำเพื่อจุดประสงค์การบันเทิง การล้อเลียน หรือการแสดงออกทางศิลปะ ..  ถ้า ไอเดียดี ท่าเต้นแปลก ให้ความสนุกสนาน เพลินเพลินมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นกระแสฮิตที่ต้องทำตามทั่วโลกแน่นอน
ตามที่เพื่อนๆเคยรู้จัก Flash Mob ( แฟลชม็อบ ) เป็นการเต้นหมู่ในสถานที่หนึ่งอย่างฉับพลัน เพื่อแสดงสิ่งแปลกตาและดูเหมือนไม่มีจุดมุ่งหมายในช่วงระยะเวลาอันสั้น จากนั้นจึงสลายตัว แยกย้ายกันไป ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี เทรนด์เต้นหมู่ นี้ก็ยังสามารถทำได้อยู่เรื่อยๆ
โดย เทรนด์การเต้นหมู่ที่ผ่านมาก็คงจะเป็น หนังดังอย่าง Step Up 4 และสดๆร้อนๆเลยก็คงจะหนีไม่พ้น การเต้น กังนัมสไตล์ (Gangnam Style) ที่สร้างปรากฏการณ์ในหลายๆประเทศ ออกมารวมตัวเต้นกันนั่นเอง ^^ แต่ที่ร้อนแรงไปยิ่งกว่า ก็คือ กระแส Harlem Shake ฮาร์เล็ม เชค นี่แหละ!!!

 Harlem Shake คืออะไร ?


  • เทรนด์การเต้นหมู่ Harlem Shake (ฮาร์เล็ม เชค) เป็นการเต้นประกอบเพลงรูปแบบหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมมาก
  • ฮาร์เล็ม เชค ( Harlem Shake ) รูปแบบการเต้น ฮาร์เล็ม เชค นี้ เป็นการหยิบเอางานเพลงชื่อเดียวกัน Harlem Shake ของบาเออร์ ศิลปินฮิปฮอป มาใช้ประมาณ 30 วินาที
  • โดยในช่วงเริ่มต้นของการเต้น Harlem Shake นั้นจะเป็นการเต้นเพียงคนเดียว ท่ามกลางในหมู่ของเพื่อนๆ หรือคนรอบข้างที่ทำเป็นไม่สนใจ แต่พอถึงช่วงที่จังหว่ะเพลงเปลี่ยน ผู้คนรอบข้างเหล่านั้นก็จะลุกออกมาเต้นในท่วงทีที่บ้าคลังหรือจะเรียกว่าหลุดโลกเลยก็ว่าได้  ไม่เน้นสวยงามแต่เน้นความฮาจ้า!!

ที่มาฮาร์เล็ม เชค (Harlem Shake)

  •  การเต้นฮาร์เล็ม เชค มีที่มาจาก การแสดงของชนกลุ่มหนึ่งในแถบทวีปแฟริกาเหนือ คือ ชนเผ่าเอสกิสตา (Eskista
  • โดยท่าเต้นดังกล่าวมีเอกลักษณ์คือการโยกไหล่ไปมา
  • จากนั้นนักเต้นวณิพกจากนิวยอร์ก สหรัฐฯ คนหนึ่งก็ได้นำท่าเต้นดังกล่าวไปประยุกต์เข้ากับลักษณะการเคลื่อนไหวของมัมมี่ ที่จะทำได้เพียงแค่การกระตุกไหล่ไปมา ทำให้ท่าเต้นดังกล่าวได้กลายมาเป็นที่นิยม จนได้รับการเผยแพร่ไปจนถึงย่านฮาร์เล็ม ของนิวยอร์ก ช่วงปี ค.ศ. 1981 จนกลายมาเป็นที่มาของชื่อ ฮาร์เล็ม เชค ในที่สุด
  • Harlem Shake เทรนด์เต้นหมู่แบบใหม่ Harlem Shake คืออะไร teen.mthai.com


  • Harlem Shake เทรนด์เต้นหมู่แบบใหม่ Harlem Shake คืออะไร teen.mthai.com4