วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปีเตอร์ คาร์ล แฟเบอร์เช


ปีเตอร์ คาร์ล แฟเบอร์


ชีวประวัติของปีเตอร์ คาร์ล แฟเบอร์เช


        รกรากของครอบครัวแฟเบอร์เชนั้นมาจากประเทศฝรั่งเศส ด้วยความที่ครอบครัวเป็น Huguenot ที่เป็นโปรเตสแตนท์พวกเขาจึงได้อพยพหนีกันออกไปจากพระราชกฤษฎีกาแห่งนองซ์ในปีค.ศ. 1685 ที่จะลบล้างอูเกอโนท์ (Huguenots) หรือชาวฝรั่งเศสผู้ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ออกจากฝรั่งเศส ตระกูลแฟเบอร์เชบางส่วนก็ย้ายไปตั้งรกรากทั้งในเยอรมนี เอสโทเนีย และ รัสเซียสำหรับ ปีเตอร์ คาร์ล แฟเบอร์เช โดยในปีค.ศ. 1842 พ่อของแฟเบอร์เช กุสตาฟได้มาตั้งร้านจิลเวลลี่ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์

ปีเตอร์ คาร์ล แฟเบอร์เชเองเกิดเมื่อปีค.ศ. 1846 ในกรุงเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ด้วยความที่ครอบครัวของเขาเป็นช่างทองตั้งแต่ในอดีต เขาจึงได้ไปศึกษาเล่าเรียนทักษะในด้านงานช่างทองในเยอรมนี หลังจากจบการศึกษามา เขาก็เริ่มต้นนำทักษะของเขามาใช้ในงานจริง ด้วยวัย 24 ปี แฟเบอร์เชก็ได้เปิดกิจการอัญมณีในรัสเซียที่เซนต์ปีเตอร์เบิร์กอีกครั้งในปี ค.ศ. 1870 หลังจากพ่อของเขาได้เกษียณและเลิกทำกิจการไป กว่า10ปีในการเป็นหัวเรือใหญ่ในธุรกิจ เขาได้พยายามสร้างสรรค์งานของเขาให้เทียบเท่าและสูงกว่างานของช่างอัญมณีทั่วไป หากมีเวลาว่างเมื่อไหร่เขาก็จะทุ่มเวลากับการศึกษามรดกสมบัติที่ล้วนมีค่าที่เก็บสะสมไว้โดยพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย ที่แฟเบอร์เชได้เห็นจากแคตาล็อกประเมินราคา และการซ่อมแซมงานพวกนี้ ในที่สุดเขาก็ได้ทำธุรกิจใหม่ขึ้นโดยความช่วยเหลือจากน้องชายชื่ออการ์ธอน (Agathon) สู่การเปลี่ยนโฉมหน้าครั้งใหญ่ของงานศิลปะอัญมณี โดยในปีค.ศ 1882 คาร์ลและน้องชายอาการ์ธอนได้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานที่ออกมาอย่างวิจิตร โดยได้แรงบัลดาลใจจากศิลปะของรัสเซียในยุคโบราณและผลงานชิ้นนี้ก็ถูกขายไป Eric Kollinช่างชาวฟินน์ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มีส่วนร่วมช่วยในจำนวนงานของสองพี่น้องนี้ที่จะนำไปจัดแสดงขึ้นในมอสโก พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่3และพระมเหสีซารีน่ามาเรีย ก็ทรงได้เข้าร่วมในงานแสดงผลงานล้ำค่าของแฟเบอร์เชด้วย นอกจากนั้นแล้วฟาบาเช่ยังได้ถูกเสนอได้รับเหรียญเกียรติยศ (Gold Medal at the Pan-Russian exhibition in 1882) ในฐานะที่ได้เปิดศักราชใหม่แห่งวงการศิลปะอัญมณี ในเวลานั้นผู้คนต่างหลงไหลในมูลค่าและความงามของงานอัญมณีที่ประดับด้วยโลหะมีค่าและอัญมณีหายาก ซึ่งแฟเบอร์เชนั้นก็เข้าใจดีว่าความคิดสร้างสรรค์ที่บรรเจิดและฝีมือช่างที่ดีจะนำไปสู่การสร้างเงินและมูลค่าของงานที่มหาศาล ในบรรดาเหล่าช่างทอง แฟเบอร์เชกลายเป็นชื่อที่ผู้คนจะสนใจอันดับแรกๆนอกจากนั้นเขายังได้จ้างมิคาอิล เพอร์ชิน (Michael Perchin) ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องทองและเครื่องเคลือบที่มาช่วยและแนะนำวิธีการ ด้วยความใส่ใจและการทดสอบวิธีการในงานศิลป์ และเขายังร่วมกันศึกษาพยายามทดลองจำลองเทคนิคงานในศิลปะช่วงต้น และเขาก็ได้รับความสำเร็จถึงขนาดที่พระเจ้าซาร์ไม่สามารถตัดสินพระทัยแยกแยะได้ในชิ้นกล่องบรรจุยานัตถุ์ ระหว่างชิ้นต้นแบบ กับชิ้นที่เลียนแบบที่เฟอร์เบอร์เช่สร้างขึ้น และในที่สุดแฟเบอร์เชก็กลายเป็นช่างของราชสำนักโรมานอฟโดยความไว้วางพระทัยของพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่3 ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19
ไข่อัญมณีแฟเบอร์เช

โรงงาน (Workshop) ของแฟเบอร์เชนั้นก็ล้วนเต็มไปด้วยช่างทองและช่างอัญมณีที่มีฝีมือดีสุดเท่าที่หาได้ในเวลานั้น แฟเบอร์เชไม่ได้ทำเพียงแค่พวกงานไข่อีสเตอร์ที่เป็นตัวสร้างชื่อเสียงแก่ชื่อผลิตภัณฑ์ของเขาเท่านั้น ธุริกิจของเขายังแยกออกเป็นส่วนงานเล็กๆ อีกอย่างเช่น เครื่องโต๊ะเงิน อัญมณีประดับ ของกระจุกกระจิกเล็กๆ สไตล์ยุโรป งานแกะสลักสไตล์รัสเซีย โดยงานอัญมณีของแฟเบอร์เชนั้นก็ได้รับการออกแบบอย่างวิจิตรหรูหราประดับด้วยสิ่งมีค่าและสิ่งที่มีค่าค่อนข้างสูงอย่าง ทอง เงิน มาลาไคต์ ลาพิซ เลซูลี และเพชร โดยได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะในการตกแต่งสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าหลุยส์ที่16 ศิลปะแบบคลาสสิค เรเนสซองค์ บาโรก โรโคโค และ อาร์ทนูโว รวมทั้งอิทธิพลจาศิลปะของรัสเซียด้วย ซึ่งลวยลายในงานของแฟเบอร์เชจะแบ่งออกเป็นทั้งกลุ่มลวดลายดอกไม้ กลุ่มลวดลายสลัก และกลุ่มลวดลายสัตว์ นอกจากนั้นแล้วผลงานเลื่องชื่ออย่างไข่อีสเตอร์ก็เป็นที่หมายปองของเหล่างราชวงศ์โรมานอฟ รวมทั้งราชวงศ์ในยุโรปและเอเชีย โดยมีช่างระดับชั้นครูอย่างมิคาอิล อีวลามพีเยวิช เพอร์ชิน (Michael Evlampievich Perchin) และเฮนริค วิคสโตรม (Henrik Wigström) มารับผิดชอบด้วย โดยตัวงานของแฟเบอร์เชที่รับผิดชอบโดยมิคาอิล เพอร์ชิน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1886 จนถึงค.ศ. 1903 จะได้รับการประทับตราMP ส่วนงานที่รับผิดชอบโดย เฮนริค วิคสโตรม จะได้รับการประทับตราHW ในตัวงานเอาไว้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีบางชิ้นในงานไข่อีสเตอร์ที่ไม่ได้รับการประทับตรา ซึ่งธุรกิจของแฟเบอร์เชนั้นเติบโตเป็นอย่างมาก กิจการของฟาเปอร์เช่ขยายไปอย่างรวดเร็วจากสาขาเดียวที่เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ก็ขยายไปยังมอสโกในปีค.ศ. 1887 และขยายกิจการไปยังเมืองเคียฟ โอเดซซา และลอนดอนในปีค.ศ. 1906 ผลงานที่งดงามที่ออกมาราวกับร่ายด้วยเวทมนตร์ก็ได้ยุติลงเมื่อมีการปฏิวัติเกิดขึ้นในปีค.ศ. 1917 รัฐก็ยึดงานและโรงงานกลับคืนมาเป็นของรัฐในช่วงต้นค.ศ. 1918 แฟเบอร์เชนั้นก็ได้ลี้ภัยออกไปยังฟินด์แลนด์โดยการช่วยเหลือของคนในสถานทูตอังกฤษ และย้ายมาสู่เมืองวิย์สบาเดน ในเยอรมนีในปีค.ศ. 1920 ในปีเดียวกันนั้นเอง ปีเตอร์ คาร์ล แฟเบอร์เช ก็ได้เสียชีวิตที่เมืองลูเซิน ในสวิตเซอร์แลนด์ ภายหลังศพของเขาได้ฝังไว้เคียงข้างออกุสตา อกาธอน แฟเบอร์เช (Augusta Agathon Faberge) ภรรยาอันเป็นที่รักที่หนีรอดออกมาจากสหภาพโซเวียตได้ในปี 1928 โดยฝังไว้ที่ Cimetière du Grand Jas ที่เมืองคาร์ล ในฝรั่งเศสด้วยวัย 74 ปี

ชื่อของ ปีเตอร์ คาร์ล แฟเบอร์เชนั้นก็ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดของช่างอัญมณีในศตวรรษที่ 19 และชิ้นงานเก่าของแฟเบอร์เชนั้นก็ถูกประมูลขายกันในมูลค่าที่สูงมากในปัจจุบัน โดยผลงานไข่อีสเตอร์นั้นถูกทยอยขายโดยพรรคคอมมิวนิตส์ในช่วงทศวรรษที่30 ซึ่งในปัจจุบันผลงานส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะคอลเลคชั่นของนักธุรกิจอเมริกา นายมัลคอม สตีเวนสัน ฟอบส์ (Malcolm Stevenson Forbes) ในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา แต่ก็มีเหลืออยู่บ้างในมอสโก และมีการนำประมูลกลับมาโดยนักธุรกิจที่ร่ำรวยจากธุรกิจน้ำมันทีเอ็นเค (TNK) นายวิคเตอร์ เวคเซลเบิร์ก ที่ประมูลมาจากครอบครัวของฟอบส์ (Forbes) ถึง 9 ชิ้น โดยได้นำเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ที่อาคารจัดแสดงเวคเซลเบิร์ก (Vekselberg) ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

10 อันดับคณะที่หางานง่ายสุด



อันดับที่ 10

รัฐศาสตร์ - 3.36%



อันดับที่ 9

การจัดการ - 4.33%



อันดับที่ 8

พยาบาลศาสตร์ - 4.81%



อันดับที่ 7

นิติศาสตร์ - 8.17%



อันดับที่ 6
การตลาด - 8.65%



อันดับที่ 5

วิศวกรรมศาสตร์ - 10.10%



อันดับที่ 4

คอมพิวเตอร์ - 10.10%



อันดับที่ 3

บริหารธุรกิจ - 12.02%



อันดับที่ 2

แพทยศาสตร์ - 18.75%



อันดับที่ 1

การบัญชี - 19.71%

ที่มา : http://www.toptenthailand.com/

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

"ลา โรค ซูร์ ซีร์" หนึ่งในหมู่บ้านที่สวยที่สุดของประเทศฝรั่งเศส



"ลา โรค ซูร์ ซีร์" หนึ่งในหมู่บ้านที่สวยที่สุดของประเทศฝรั่งเศส








                      ล็องก์ดอค-รูซียง (Languedoc-Roussillon) อีกหนึ่งแคว้นที่น่ามาเยือนแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ค่อนข้างโดดเด่น และมีแสงแดดอันอบอุ่นเกือบตลอดปี จึงไม่น่าแปลกใจอะไร ที่ล็องก์ดอค-รูซียงจะเป็นอีกจุดหมายปลายทางยอดนิยมอีกแห่งของประเทศฝรั่งเศสนั่นเอง 



     ลา โรค ซูร์ ซีร์ (La Roque-sur-Ceze) คือ หมู่บ้านเล็กๆที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น หนึ่งในหมู่บ้านที่สวยที่สุดของประเทศฝรั่งเศส โดยหมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดการ์ (Gard)

     หมู่บ้านลา โรค ซูร์ ซีร์ เป็นหมู่บ้านยุคกลางที่สวยงาม ซึ่งตั้งขึ้นบนเนินเขา ใกล้ๆกับ น้ำตกSautadet น้ำตกที่เกิดจากการถูกกัดเซาะ จนกลายเป็นโตรกหินผา และแก่งหิน และสภาพภูมิประเทศขรุขระที่สวยงาม เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของหมู่บ้านลา โรค ซูร์ ซีร์



     นอกจากนี้แล้ว ภายในหมู่บ้านลา โรค ซูร์ ซีร์ ยังโดดเด่นไปด้วยอาคารบ้านเรือน ปราสาท และป้อมปราการอันเก่าแก่ ซึ่งถูกสร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 12 น่าเสียดายตรงที่ไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ของเอกชนนั่นเอง



     สุดท้ายไม่พลาดไปชม สะพานหินโบราณ ที่เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ด้านการท่องเที่ยวของหมู่บ้านลา โรค ซูร์ ซีร์ โดยสะพานหินแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการสัญจรข้าม แม่น้ำsmal ซึ่งปัจจุบันเป็นอนุสาวรีย์ที่มีความสำคัญทางระวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของฝรั่งเศส 

รูป สุดสยอง!! เนปาลฆ่าควาย “บูชายัญ” นับแสนตัว‏

สุดสยอง!! เนปาลฆ่าควาย “บูชายัญ” นับแสนตัว‏




                   
                      ควายจำนวนมากที่ถูกสังหารด้วยวิธีการตัดคอ เพื่อบูชายัญต่อเทพเจ้าตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเขตบาราทางตอนใต้ของกรุงกาฏมาณฑุ  ตามประเพณี ซึ่งเชื่อว่า จะช่วยนำโชคลาภและความเจริญมั่งคั่งมาให้
   
   พิธีบูชายัญดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล “คาธิไม” ของชาวฮินดู ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุก 5 ปี ที่ศาสนสถานคาธิไม ห่างจากกรุงกาฏมาณฑุ เมืองหลวงประมาณ 150 กิโลเมตร โดยในแต่ละครั้งจะต้องสังเวยด้วยชีวิต ควาย แพะ ไก่ และนกพิราบ กว่า 200,000 ตัว
   
   คณะกรรมการการจัดงาน เผยว่า มีควายถูกฆ่าบูชายัญไปแล้วกว่า 15,000 ตัว แต่ แพะ ไก่ นกพิราบ ที่ถูกฆ่าสังเวยชีวิตมากมายจนนับจำนวนไม่ได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนความเชื่อต่อเทพเจ้าคาธิไม เทพเจ้าแห่งอำนาจ ตามความเชื่อของชาวเนปาล ซึ่งร้อยละ 80 จากประชากร 27 ล้านคนเป็นชาวฮินดู
   
   พิธีกรรมดังกล่าวถูกนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนประณามอย่างหนัก รวมถึง บริชิตต์ บาร์โดต์ นักแสดงชาวฝรั่งเศส ซึ่งเรียกร้องให้ชาวเนปาลยุติประเพณีที่สืบทอดกันมานานนับร้อยปีนี้