สงครามมีความสำคํญทางประวัติศาสตร์หลายประการ แม้ว่าจะเป็นสงครามของความขัดแย้งกันหลายด้านแต่ก็เป็นสงครามที่ที่ทำให้ทั้งฝ่ายอังกฤษเริ่มมีความรู้สึกถึงความเป็นชาตินิยม ทางด้านการทหารก็มีการนำอาวุธและยุทธวิธีใหม่ๆ มาใช้ที่ทำให้ระบบ
ศักดินาที่ใช้การต่อสู้บนหลังม้าเป็นหลักเริ่มหมดความสำคัญลง ในด้านระบบการทหารก็มีการริเริ่มการใช้ทหารประจำการที่เลิกใช้กันไปตั้งแต่การล่มสลายของ
จักรวรรดิโรมันตะวันตก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทของเกษตรกร ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ทำให้เห็นว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์
การสงครามของยุคกลางในฝรั่งเศสการรุกรานของฝ่ายอังกฤษ, สงครามกลางเมือง, การระบาดของเชื้อโรค, ความอดอยาก และการเที่ยวปล้นสดมของทหารรับจ้างและโจรทำให้ประชากรลดจำนวนลงไปถึงสองในสามในช่วงเวลานี้ เมื่อต้องออกจาก
แผ่นดินใหญ่ยุโรปอังกฤษก็กลายเป็นชาติเกาะที่มีผลต่อนโยบายและปรัชญาของอังกฤษต่อมาถึง 500 ปี
ที่มาของสงคราม
สาเหตุของความขัดแย้งเริ่มมาตั้งแต่ปี
ค.ศ. 1066 เมื่อ
ดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดียกกองทัพมา
รุกรานอังกฤษ พระองค์ทรงไดัรับชัยชนะต่อ
สมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ใน
ยุทธการเฮสติงส์ และขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ ในฐานะดยุคแห่งนอร์มังดี วิลเลียมยังคงขึ้นอยู่กับกษัตริย์ฝรั่งเศส ซึ่งต้องทรงสาบานความสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์ฝรั่งเศส การแสดงความสวามิภักดิ์ของกษัตริย์องค์หนึ่งต่อกษัตริย์อีกองค์หนึ่งเป็นการกระทำที่เหมือนเป็นการหยามศักดิ์ศรี พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษจึงพยายามเลี่ยง ทางฝ่ายราชวงศ์กาเปเตียงที่ปกครองฝรั่งเศสเองก็ไม่พอใจที่มีกษัตริย์ประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นเจ้าของดินแดนภายในราชอาณาจักรฝรั่งเศส และพยายามหาทางลดความเป็นอันตรายของฝ่ายอังกฤษต่อความมั่นคงของฝรั่งเศส
หลังจากสมัยของ
สงครามกลางเมืองที่เรียกว่า
สงครามอนาธิปไตย (The Anarchy) ในอังกฤษระหว่างปี
ค.ศ. 1135 ถึงปี
ค.ศ. 1154 ราชวงศ์อองชูก็ขึ้นมามีอำนาจแทนราชวงศ์แองโกล-นอร์มัน สมัยที่รุ่งเรืองที่สุดราชวงศ์อองชูก็ปกครองทั้งอังกฤษ และดินแดนในฝรั่งเศสที่รวมทั้งนอร์มังดี,ไมน์, อองชู, ทูแรน, ปัวตูร์, แกสโคนี, แซงตง, และอากีแตน ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่มีเนื้อที่มากกว่าพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสเอง ดินแดนเหล่านี้เรียกรวมๆ ว่า
จักรวรรดิอองชู (Angevin Empire) การที่พระมหากษัตริย์อังกฤษแห่งราชวงศ์อองชูต้องแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสผู้อ่อนแอกว่าเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งตลอดมา
เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ขุนนางอังกฤษก็ยังรำลึกถึงเวลาที่บรรพบุรุษมีอำนาจครอบครองดินแดนมากมายบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปเช่นในนอร์มังดีซึ่งฝ่ายอังกฤษถือว่าเป็นดินแดนของบรรพบุรุษ และเป็นแรงบันดาลใจในความพยายามที่ยึดดินแดนเหล่านี้คืนมาในครองครองอีกครั้งหนึ่ง
สาเหตุแห่งสงคราม
ใน
ค.ศ. 1324 พระเจ้าชาลส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส สิ้นพระชนม์โดยไม่มีทายาท ทำให้
ราชวงศ์กาเปเชียงสายตรงต้องสิ้นสุดลง
พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษทรงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าชาลส์ที่ 4 เป็นพระญาติชายที่ใกล้ชิดที่สุดทางสายพระโลหิต จึงเป็นผู้มีสิทธิจะครองบัลลังก์มากที่สุด แต่ขุนนางฝรั่งเศส ไม่ต้องการให้กษัตริย์อังกฤษมาปกครองฝรั่งเศส จึงอ้าง
กฏบัตรซาลลิคของชนแฟรงก์โบราณว่า การสืบสันติวงศ์จะต้องผ่านทางผู้ชายเท่านั้น และให้ฟิลิปเคานท์แห่งวาลัวส์ ที่สืบเชื้อสายจากพระเจ้าฟิลิปที่ 3 ขึ้นครองราชย์เป็น
พระเจ้าฟิลิปที่ 6 เป็นปฐมกษัตริย์
ราชวงศ์วาลัวส์ ซึ่งเป็นสาขาของราชวงศ์กาเปเชียง ใน
ค.ศ. 1331 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 ทรงยินยอมที่จะสละสิทธิ์ในบัลลังก์ฝรั่งเศสทั้งมวลแต่ครองแคว้นกาสโคนี
ใน
ค.ศ. 1333 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงทำสงครามกับ
สกอตแลนด์ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสตามสัญญาพันธมิตรเก่า (Auld Alliance) ทำให้พระเจ้าฟิลิปที่ 6 ทรงเห็นเป็นโอกาสจึงนำทัพบุกยึดแคว้น
กาสโคนี แต่พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงปราบปรามสกอตแลนด์อย่างรวดเร็ว และหันมาตอบโต้พระเจ้าฟิลิปได้ทัน
สงครามร้อยปีเริ่มต้นใน
ค.ศ. 1337 ในตอนแรกทัพเรือฝรั่งเศสสามารถโจมตีเมืองท่าอังกฤษได้หลายที่ แต่ลมก็เปลี่ยนทิศเมื่อทัพเรือฝรั่งเศสถูกทำลายล้างใน
การรบที่สลุยส์ (Sluys) ใน
ค.ศ. 1341 ตระกูลดรือซ์แห่งแคว้นบรีตตานีสูญสิ้น พระเจ้าเอ็ดวาร์ดและพระเจ้าฟิลิปจึงสู้รบกันเพื่อให้คนของตนได้ครองแคว้นบรีตตานี ใน
ค.ศ. 1346 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงสามารถขึ้นบกได้ที่เมืองคัง (Caen) ในนอร์มังดี เป็นที่ตกใจแก่ชาวฝรั่งเศส พระเจ้าฟิลิปแต่งทัพไปสู้ แต่พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงหลบหนีไปประเทศภาคต่ำ (Low Countries) ทัพฝรั่งเศสตามมาทัน แต่พ่ายแพ้ยับเยินที่
การรบที่เครซี (Crécy) ทำให้พระเจ้าเอ็ดวาร์ดต่อไปยึดเมืองท่าคาเลส์ของฝรั่งเศสและยึดเป็นที่มั่นบนแผ่นดินฝรั่งเศสได้ใน
ค.ศ. 1347
ใน
ค.ศ. 1348 ระหว่างที่ฝรั่งเศสกำลังลุกเป็นไฟด้วยสงคราม
กาฬโรคก็ระบาดมาถึงฝรั่งเศสคร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก
เจ้าชายดำพระโอรสของพระเจ้าเอ็ดวาร์ด บุกอังกฤษจากกาสโคนี ชนะฝรั่งเศสใน
ศึกปัวติเยร์ (Poitiers) จับ
พระเจ้าชองแห่งฝรั่งเศสได้ ด้วยอำนาจของฝรั่งเศสที่อ่อนแอลง ทำให้ตามชนบทไม่มีขื่อแปโจรอาละวาด ทำให้ชาวบ้านก่อจลาจลกันมากมาย พระเจ้าเอ็ดวาร์ดเห็นโอกาสจึงทรงบุกอีกครั้ง แต่ถูก
องค์รัชทายาทแห่งฝรั่งเศสต้านไว้ได้ จนทำสนธิสัญญาบรีติญญี (Bretigny) ใน
ค.ศ. 1360 อังกฤษได้อากีแตน บรีตตานีครึ่งนึง และเมืองท่าคาเลส์
สงครามของพระเจ้าชาร์ลส์ (ค.ศ. 1369 ถึง ค.ศ. 1389)
พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 ทรงสามารถบุกยึดดินแดนคืนจากฝรั่งเศสได้ ด้วยความช่วยเหลือของขุนพล
แบร์ทรันด์ เดอ เกอสแคลง (Bertrand de Guesclin) องค์ชายเอ็ดวาร์ดทรงติดพันอยู่กับสงครามในสเปน จนทรงปลีกพระองค์มาฝรั่งเศสได้ใน
ค.ศ. 1371 ฝ่ายอังกฤษตอบโต้โดย
ยุทธวิธีการปล้นสดมเผาผลาญเมืองต่างๆของฝรั่งเศส แต่เดอเกอสแคลงก็ไม่หลงกล
องค์ชายเอ็ดวาร์ดสิ้นพระชนม์ใน
ค.ศ. 1376 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดสิ้นพระชนม์ใน
ค.ศ. 1377 และเดอเกอสแคลงสิ้นชีวิตใน
ค.ศ. 1380 เมื่อผู้นำทัพสิ้นชีวิตไปหมดแล้ว สงครามก็สงบลงอีกครั้ง จนทำสัญญาสงบศึกใน
ค.ศ. 1389
สงครามพระเจ้าเฮนรี (ค.ศ. 1415 ถึง ค.ศ. 1429)
โยนแห่งอาร์คกู้เมืองออร์เลียงส์
สงครามร้อยปีหยุดยาวเพราะฝรั่งเศสตกอยู่ในสงครามกลางเมืองระหว่างตระกูลอาร์มันญัค (Armagnac) และดยุคแห่งเบอร์กันดี เพราะพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 ทรงมีพระสติไม่สมประกอบ ทำให้แย่งอำนาจกันปกครองบ้านเมือง และขอให้อังกฤษช่วย แต่อังกฤษเองก็กำลังมีสงครามกลางเมือง และเวลส์และไอร์แลนด์ก่อกบฎ สกอตแลนด์บุก
ชัยชนะของฝรั่งเศส (ค.ศ. 1429 ถึง ค.ศ. 1453)
ใน
ค.ศ. 1428 อังกฤษ
ล้อมเมืองออร์เลอองส์ แต่
โยนแห่งอาร์ค (ฌานดาก) เสนอตัวขับไล่ทัพอังกฤษกล่าวว่านางเห็นนิมิตว่าพระเจ้าให้เธอปลดปล่อยฝรั่งเศสจากอังกฤษ จนสามารถขับไล่ทัพอังกฤษออกไปได้ใน
ค.ศ. 1429 และยังสามารถเปิดทางให้องค์รัชทายาทสามารถยึดเมืองแรงส์เพื่อราชาภิเษกพระเจ้าชาลส์ที่ 7 นับเป็นจุดเปลี่ยนในสงครามร้อยปี แต่โยนแห่งอาร์คถูกพวกเบอร์กันดีจับได้และส่งให้อังกฤษ และถูกเผาทั้งเป็น ใน
ค.ศ. 1435 แคว้นเบอร์กันดีหันมาเป็นพวกฝรั่งเศส แม้ฝ่ายอังกฤษจะมีจอห์น ทัลบอต ที่ดุร้าย แต่พระเจ้าชาลส์ที่ 7ก็ทรงสามารถยึดฝรั่งเศสคืนได้เกือบหมดใน
ค.ศ. 1453 (ยกเว้นคาเลส์) ใน
การรบที่คาสตีลโลญ(Castillogne) ซึ่งฝรั่งเศสใช้
ปืนเป็นครั้งแรก เป็นอันสิ้นสุดสงครามร้อยปี