วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ


องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ


องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (อังกฤษNorth Atlantic Treaty Organization) มีชื่อย่อว่า นาโต (NATO) เป็นองค์กรระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือในการรักษาความสงบ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ
สมาชิกก่อตั้งประกอบด้วยประเทศเบลเยียม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี พ.ศ. 2495(ค.ศ. 1952) กรีซและตุรกีได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ในขณะที่ประเทศเยอรมนีเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

จุดเริ่มต้น

จากการลงนามในสนธิสัญญากรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดยมีเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักรนั้น ถือเป็นการเริ่มต้นขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ซึ่งสนธิสัญญานี้ และเหตุการณ์การปิดกั้นเบอร์ลินของโซเวียต ทำให้มีการก่อตั้งองค์กรป้องกันสหภาพยุโรปตะวันตก (WEU) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2491 และด้วยการสนันสนุนอย่างดีจากพันธมิตรสำคัญคือสหรัฐอเมริกาที่ต้องการถ่วงดุลอำนาจทางการทหารกับสหภาพโซเวียต ทำให้พันธมิตรทางทหารที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่นี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างรวดเร็ว
ส่วนการเริ่มต้นสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนืออย่างเป็นทางการนั้น เกิดขึ้นเมื่อมีการลงนามในวอชิงตันดีซี ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 โดยได้รวมสนธิทั้งห้าของของบรัสเซลส์เข้าไว้ด้วยกัน โดยมีสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งในครั้งแรกนั้น คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา โปรตุเกส อิตาลี นอร์เวย์ เดนมาร์ก และไอซ์แลนด์ โดยเสียงสนับสนุนในการก่อตั้งนั้นไม่เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากมีชาวไอซ์แลนด์บางกลุ่มต่อต้านการเข้าเป็นสมาชิกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2492

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

สงครามร้อยปี


สงครามร้อยปี (อังกฤษHundred Years' War) เป็นความขัดแย้งระหว่างสองราชตระกูลที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1337 ถึงปี ค.ศ. 1453 เพื่อชิงราชบัลลังก์ฝรั่งเศสที่ว่างลงเมื่อผู้สืบเชื้อสายของราชวงศ์กาเปเตียงสิ้นสุดลง ราชวงศ์สองราชวงศ์ที่พยายามชิงราชบัลลังก์คือราชวงศ์วาลัวส์ และราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท หรือที่รู้จักกันว่าราชวงศ์อองชู ราชวงศ์วาลัวส์อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสขณะที่ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและอังกฤษ ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทเป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และมีรากฐานจากบริเวณอองชู และนอร์มังดีในฝรั่งเศส ทหารฝรั่งเศสเป็นผู้ร่วมการต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย โดยมีเบอร์กันดี และอากีแตนสนับสนุนฝ่ายแพลนทาเจเน็ท
ความขัดแย้งยืดยาวเป็นเวลาถึง 116 ปีแต่ก็มีช่วงที่มีความสงบเป็นระยะๆ ก่อนที่จะจบลงด้วยการกำจัดราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทออกจากฝรั่งเศส (นอกจากในบริเวณคาเลส์) ฝ่ายราชวงศ์วาลัวส์จึงเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะในการกำจัดราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทออกจากฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1450
อันที่จริงแล้วสงครามร้อยปีเป็นสงครามที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ที่มักจะแบ่งเป็นสามหรือสี่ช่วง: สงครามพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด (ค.ศ. 1337–ค.ศ. 1360)สงครามพระเจ้าชาร์ลส์ (1369–1389)สงครามพระเจ้าเฮนรี (ค.ศ. 1415–ค.ศ. 1429) และหลังจากการมีบทบาทของโจนออฟอาร์ค (ค.ศ. 1412–ค.ศ. 1431) ความได้เปรียบของฝ่ายอังกฤษก็ลดถอยลง นอกจากนั้นสงครามร้อยปีก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันทั้งในฝรั่งเศสและอังกฤษที่รวมทั้งสงครามสืบราชบัลลังก์บริตานีสงครามสืบราชบัลลังก์คาสตีล และสงครามสองปีเตอร์ คำว่า “สงครามร้อยปี” เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ในสมัยต่อมาคิดขึ้นเพื่อบรรยายถึงเหตุการณ์ที่ว่านี้
สงครามมีความสำคํญทางประวัติศาสตร์หลายประการ แม้ว่าจะเป็นสงครามของความขัดแย้งกันหลายด้านแต่ก็เป็นสงครามที่ที่ทำให้ทั้งฝ่ายอังกฤษเริ่มมีความรู้สึกถึงความเป็นชาตินิยม ทางด้านการทหารก็มีการนำอาวุธและยุทธวิธีใหม่ๆ มาใช้ที่ทำให้ระบบศักดินาที่ใช้การต่อสู้บนหลังม้าเป็นหลักเริ่มหมดความสำคัญลง ในด้านระบบการทหารก็มีการริเริ่มการใช้ทหารประจำการที่เลิกใช้กันไปตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทของเกษตรกร ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ทำให้เห็นว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การสงครามของยุคกลางในฝรั่งเศสการรุกรานของฝ่ายอังกฤษ, สงครามกลางเมือง, การระบาดของเชื้อโรค, ความอดอยาก และการเที่ยวปล้นสดมของทหารรับจ้างและโจรทำให้ประชากรลดจำนวนลงไปถึงสองในสามในช่วงเวลานี้ เมื่อต้องออกจากแผ่นดินใหญ่ยุโรปอังกฤษก็กลายเป็นชาติเกาะที่มีผลต่อนโยบายและปรัชญาของอังกฤษต่อมาถึง 500 ปี

ที่มาของสงคราม

สาเหตุของความขัดแย้งเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1066 เมื่อ ดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดียกกองทัพมารุกรานอังกฤษ พระองค์ทรงไดัรับชัยชนะต่อสมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ในยุทธการเฮสติงส์ และขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ ในฐานะดยุคแห่งนอร์มังดี วิลเลียมยังคงขึ้นอยู่กับกษัตริย์ฝรั่งเศส ซึ่งต้องทรงสาบานความสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์ฝรั่งเศส การแสดงความสวามิภักดิ์ของกษัตริย์องค์หนึ่งต่อกษัตริย์อีกองค์หนึ่งเป็นการกระทำที่เหมือนเป็นการหยามศักดิ์ศรี พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษจึงพยายามเลี่ยง ทางฝ่ายราชวงศ์กาเปเตียงที่ปกครองฝรั่งเศสเองก็ไม่พอใจที่มีกษัตริย์ประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นเจ้าของดินแดนภายในราชอาณาจักรฝรั่งเศส และพยายามหาทางลดความเป็นอันตรายของฝ่ายอังกฤษต่อความมั่นคงของฝรั่งเศส
หลังจากสมัยของสงครามกลางเมืองที่เรียกว่าสงครามอนาธิปไตย (The Anarchy) ในอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1135 ถึงปี ค.ศ. 1154 ราชวงศ์อองชูก็ขึ้นมามีอำนาจแทนราชวงศ์แองโกล-นอร์มัน สมัยที่รุ่งเรืองที่สุดราชวงศ์อองชูก็ปกครองทั้งอังกฤษ และดินแดนในฝรั่งเศสที่รวมทั้งนอร์มังดี,ไมน์, อองชู, ทูแรน, ปัวตูร์, แกสโคนี, แซงตง, และอากีแตน ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่มีเนื้อที่มากกว่าพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสเอง ดินแดนเหล่านี้เรียกรวมๆ ว่าจักรวรรดิอองชู (Angevin Empire) การที่พระมหากษัตริย์อังกฤษแห่งราชวงศ์อองชูต้องแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสผู้อ่อนแอกว่าเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งตลอดมา
สมเด็จพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษทรงได้รับดินแดนมากมายจากสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แต่พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสทรงใช้ความอ่อนแอของพระเจ้าจอห์นทั้งทางกฎหมายและทางการทหาร และเมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1204 พระองค์ก็ทรงยึดดินแดนต่างๆ มาเป็นของฝรั่งเศส ยุทธการบูแวงส์ (Battle of Bouvines) ในปี ค.ศ. 1214, ยุทธการแซงตง (Saintonge War) ในปี ค.ศ. 1242 และยุทธการแซงต์ซาร์โดส์ (War of Saint-Sardos) ในปี ค.ศ. 1324) ทำให้ราชวงศ์อองชูสูญเสียดินแดนนอร์มังดีทั้งหมดและลดเนื้อที่ครอบครองในฝรั่งเศสลงเหลือเพียงในบริเวณบางส่วนของแกสโคนีเท่านั้น
เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ขุนนางอังกฤษก็ยังรำลึกถึงเวลาที่บรรพบุรุษมีอำนาจครอบครองดินแดนมากมายบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปเช่นในนอร์มังดีซึ่งฝ่ายอังกฤษถือว่าเป็นดินแดนของบรรพบุรุษ และเป็นแรงบันดาลใจในความพยายามที่ยึดดินแดนเหล่านี้คืนมาในครองครองอีกครั้งหนึ่ง


สาเหตุแห่งสงคราม

การรบที่สลุยส์
ในค.ศ. 1324 พระเจ้าชาลส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส สิ้นพระชนม์โดยไม่มีทายาท ทำให้ราชวงศ์กาเปเชียงสายตรงต้องสิ้นสุดลง พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษทรงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าชาลส์ที่ 4 เป็นพระญาติชายที่ใกล้ชิดที่สุดทางสายพระโลหิต จึงเป็นผู้มีสิทธิจะครองบัลลังก์มากที่สุด แต่ขุนนางฝรั่งเศส ไม่ต้องการให้กษัตริย์อังกฤษมาปกครองฝรั่งเศส จึงอ้างกฏบัตรซาลลิคของชนแฟรงก์โบราณว่า การสืบสันติวงศ์จะต้องผ่านทางผู้ชายเท่านั้น และให้ฟิลิปเคานท์แห่งวาลัวส์ ที่สืบเชื้อสายจากพระเจ้าฟิลิปที่ 3 ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฟิลิปที่ 6 เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์วาลัวส์ ซึ่งเป็นสาขาของราชวงศ์กาเปเชียง ในค.ศ. 1331 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 ทรงยินยอมที่จะสละสิทธิ์ในบัลลังก์ฝรั่งเศสทั้งมวลแต่ครองแคว้นกาสโคนี
ในค.ศ. 1333 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงทำสงครามกับสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสตามสัญญาพันธมิตรเก่า (Auld Alliance) ทำให้พระเจ้าฟิลิปที่ 6 ทรงเห็นเป็นโอกาสจึงนำทัพบุกยึดแคว้นกาสโคนี แต่พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงปราบปรามสกอตแลนด์อย่างรวดเร็ว และหันมาตอบโต้พระเจ้าฟิลิปได้ทัน

สงครามของพระเจ้าเอ็ดวาร์ด (ค.ศ. 1337 ถึง ค.ศ. 1360)

สงครามร้อยปีเริ่มต้นในค.ศ. 1337 ในตอนแรกทัพเรือฝรั่งเศสสามารถโจมตีเมืองท่าอังกฤษได้หลายที่ แต่ลมก็เปลี่ยนทิศเมื่อทัพเรือฝรั่งเศสถูกทำลายล้างในการรบที่สลุยส์ (Sluys) ในค.ศ. 1341 ตระกูลดรือซ์แห่งแคว้นบรีตตานีสูญสิ้น พระเจ้าเอ็ดวาร์ดและพระเจ้าฟิลิปจึงสู้รบกันเพื่อให้คนของตนได้ครองแคว้นบรีตตานี ในค.ศ. 1346 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงสามารถขึ้นบกได้ที่เมืองคัง (Caen) ในนอร์มังดี เป็นที่ตกใจแก่ชาวฝรั่งเศส พระเจ้าฟิลิปแต่งทัพไปสู้ แต่พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงหลบหนีไปประเทศภาคต่ำ (Low Countries) ทัพฝรั่งเศสตามมาทัน แต่พ่ายแพ้ยับเยินที่การรบที่เครซี (Crécy) ทำให้พระเจ้าเอ็ดวาร์ดต่อไปยึดเมืองท่าคาเลส์ของฝรั่งเศสและยึดเป็นที่มั่นบนแผ่นดินฝรั่งเศสได้ในค.ศ. 1347
ในค.ศ. 1348 ระหว่างที่ฝรั่งเศสกำลังลุกเป็นไฟด้วยสงคราม กาฬโรคก็ระบาดมาถึงฝรั่งเศสคร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก เจ้าชายดำพระโอรสของพระเจ้าเอ็ดวาร์ด บุกอังกฤษจากกาสโคนี ชนะฝรั่งเศสในศึกปัวติเยร์ (Poitiers) จับพระเจ้าชองแห่งฝรั่งเศสได้ ด้วยอำนาจของฝรั่งเศสที่อ่อนแอลง ทำให้ตามชนบทไม่มีขื่อแปโจรอาละวาด ทำให้ชาวบ้านก่อจลาจลกันมากมาย พระเจ้าเอ็ดวาร์ดเห็นโอกาสจึงทรงบุกอีกครั้ง แต่ถูกองค์รัชทายาทแห่งฝรั่งเศสต้านไว้ได้ จนทำสนธิสัญญาบรีติญญี (Bretigny) ในค.ศ. 1360 อังกฤษได้อากีแตน บรีตตานีครึ่งนึง และเมืองท่าคาเลส์

สงครามของพระเจ้าชาร์ลส์ (ค.ศ. 1369 ถึง ค.ศ. 1389)

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 ทรงสามารถบุกยึดดินแดนคืนจากฝรั่งเศสได้ ด้วยความช่วยเหลือของขุนพลแบร์ทรันด์ เดอ เกอสแคลง (Bertrand de Guesclin) องค์ชายเอ็ดวาร์ดทรงติดพันอยู่กับสงครามในสเปน จนทรงปลีกพระองค์มาฝรั่งเศสได้ในค.ศ. 1371 ฝ่ายอังกฤษตอบโต้โดยยุทธวิธีการปล้นสดมเผาผลาญเมืองต่างๆของฝรั่งเศส แต่เดอเกอสแคลงก็ไม่หลงกล
องค์ชายเอ็ดวาร์ดสิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1376 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดสิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1377 และเดอเกอสแคลงสิ้นชีวิตในค.ศ. 1380 เมื่อผู้นำทัพสิ้นชีวิตไปหมดแล้ว สงครามก็สงบลงอีกครั้ง จนทำสัญญาสงบศึกในค.ศ. 1389

สงครามพระเจ้าเฮนรี (ค.ศ. 1415 ถึง ค.ศ. 1429)

โยนแห่งอาร์คกู้เมืองออร์เลียงส์
สงครามร้อยปีหยุดยาวเพราะฝรั่งเศสตกอยู่ในสงครามกลางเมืองระหว่างตระกูลอาร์มันญัค (Armagnac) และดยุคแห่งเบอร์กันดี เพราะพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 ทรงมีพระสติไม่สมประกอบ ทำให้แย่งอำนาจกันปกครองบ้านเมือง และขอให้อังกฤษช่วย แต่อังกฤษเองก็กำลังมีสงครามกลางเมือง และเวลส์และไอร์แลนด์ก่อกบฎ สกอตแลนด์บุก
เมื่ออังกฤษสงบแล้ว พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ก็ทรงนำทัพบุกฝรั่งเศสในค.ศ. 1415 และชนะฝรั่งเศสขาดรอยที่ยุทธการอาแฌงคูร์ต ได้ดยุคแห่งเบอร์กันดีมาเป็นพวก และยึดฝรั่งเศสตอนเหนือไว้ได้ทั้งหมดในค.ศ. 1419พระเจ้าเฮนรีทรงเฝ้าพระเจ้าชาลส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศสซึ่งทรงพระสติไม่สมประกอบ ทำสัญญาให้พระโอรสพระเจ้าเฮนรีขึ้นครองฝรั่งเศสเมื่อพระเจ้าชาลส์สิ้นพระชนม์ แต่ทัพสกอตแลนต์ก็มาช่วยขัดขวางเอาไว้ เมื่อพระเจ้าชาลส์สิ้นพระชนม์ พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ ก็ขึ้นเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศส แต่ตระกูลอาร์มันญัคยังคงจงรักภัคดีต่อองค์รัชทายาทฝรั่งเศส

ชัยชนะของฝรั่งเศส (ค.ศ. 1429 ถึง ค.ศ. 1453)

ในค.ศ. 1428 อังกฤษล้อมเมืองออร์เลอองส์ แต่โยนแห่งอาร์ค (ฌานดาก) เสนอตัวขับไล่ทัพอังกฤษกล่าวว่านางเห็นนิมิตว่าพระเจ้าให้เธอปลดปล่อยฝรั่งเศสจากอังกฤษ จนสามารถขับไล่ทัพอังกฤษออกไปได้ในค.ศ. 1429 และยังสามารถเปิดทางให้องค์รัชทายาทสามารถยึดเมืองแรงส์เพื่อราชาภิเษกพระเจ้าชาลส์ที่ 7 นับเป็นจุดเปลี่ยนในสงครามร้อยปี แต่โยนแห่งอาร์คถูกพวกเบอร์กันดีจับได้และส่งให้อังกฤษ และถูกเผาทั้งเป็น ในค.ศ. 1435 แคว้นเบอร์กันดีหันมาเป็นพวกฝรั่งเศส แม้ฝ่ายอังกฤษจะมีจอห์น ทัลบอต ที่ดุร้าย แต่พระเจ้าชาลส์ที่ 7ก็ทรงสามารถยึดฝรั่งเศสคืนได้เกือบหมดในค.ศ. 1453 (ยกเว้นคาเลส์) ในการรบที่คาสตีลโลญ(Castillogne) ซึ่งฝรั่งเศสใช้ปืนเป็นครั้งแรก เป็นอันสิ้นสุดสงครามร้อยปี





วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

ลูเซียส คลอดิอุส นีโร


สมเด็จพระจักรพรรดินีโร (อังกฤษNero) หรือที่รู้จักในชื่อ นีโรจอมโหด เป็นจักรพรรดิรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จูลิโอ-คลอเดียน แห่งจักรวรรดิโรมัน เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 37 ที่เมืองแอนเธียม แห่งจักรวรรดิโรมัน บิดาชื่อ งาเออุส โดมิทิอุส อาเฮโนบาร์บุส (Gnaeus Domitius Ahenobarbus) มารดาชื่อ อากริพพินา ซึ่งมีศักดิ์เป็นถึงน้องสาวของจักรพรรดิคาลิกูลา (Caligula) จักรพรรดิรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จูลิโอ-คลอเดียน มีชื่อเต็มตอนเกิดว่า ลูเซียส คลอดิอุส นีโร


เหตุการณ์ในปีต่างๆ

  • ค.ศ. 39 เกิดศึกใหญ่ระหว่างโรมันกับเยอรมนี คาลิกูลาจึงนำทัพไปรบ แต่ก็มีข่าวออกมาว่า อากริพพินา น้องสาวของพระองค์กำลังวางแผนโค่นอำนาจจากพระองค์ไป จึงทรงสั่งเนรเทศอากริพพินาไปยังเกาะพอนเธียน ทั้ง ๆ ที่นีโรยังเล็กมาก เขาจึงต้องอาศัยอยู่กับพ่อ
  • ค.ศ. 40 งาเออุส อาเฮโนบาร์บุส พ่อของนีโรเสียชีวิต เนื่องจากป่วยเป็นโรคบวมน้ำ คลอดิอุส (พี่ชายของพ่อของจักรพรรดิคาลิกูลา) จึงรับเลี้ยงดูนีโรต่อ ซึ่งในช่วงปีนี้ นีโรมีความฝันอยากจะเป็นศิลปิน
  • ค.ศ. 41 จักรพรรดิคาลิกูลาถูกลอบสังหารขณะชมกีฬา สภาสูงสุดแห่งโรม จึงมีมติให้คลอดิอุสครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 เขาเป็นคนดี ปกครองบ้านเมืองได้สงบร่มเย็นตลอดรัชกาล เขานำอากริพพินากลับมายังโรมัน มาพบนีโร ทำให้แม่ลูกได้พบกัน และอยู่ด้วยกันอย่างสงบ อากริพพินาแต่งงานกับเศรษฐีคนหนึ่งเพื่อยกฐานะตนให้รวยขึ้น ต่อมาเศรษฐีเสียชีวิตลง อากริพพินาและนีโรจึงได้สมบัติไปเต็มๆ
  • ค.ศ. 48 ภรรยาของคลอดิอุสถูกจับได้ว่าคิดกบฏ จึงถูกสั่งประหารชีวิต อากริพพินาจึงพยายามจะแต่งงานกับคลอดิอุส เพื่อยกฐานะนีโรให้เป็นบุตรบุญธรรมของจักรพรรดิ ซึ่งในกรณีนี้ ถ้าอากริพพินาทำสำเร็จ นีโรจะมีสิทธิ์โดยชอบธรรมที่จะครองราชย์ต่อจากคลอดิอุส
  • ค.ศ. 49 อากริพพินาแต่งงานกับคลอดิอุสได้สำเร็จ นีโรได้กลายเป็นบุตรบุญธรรมของคลอดิอุส นีโรจึงเปลี่ยนชื่อเต็มใหม่ ว่า นีโร คลอดิอุส ซีซาร์ ดรุสซุส (Nero Claudius Caesar Drusus)
  • ค.ศ. 50 คลอดิอุสแต่งตั้งเลื่อนยศอากริพพินาเป็นออกุสตา (จักรพรรดินี) และเลื่อนยศนีโรขึ้นเป็นทายาทโดยชอบธรรม (ไม่ใช่บุตรบุญธรรมอีกต่อไป แต่เป็นทายาทแท้ๆ)
  • ค.ศ. 51 คลอดิอุสประกาศให้นีโร เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ ทั้งที่อายุยังน้อย ต่อมาไม่นานยังแต่งตั้งนีโรเป็นข้าหลวงและมอบสิทธิ์ให้สามารถเข้าร่วมอภิปรายในสภาสูง
  • ค.ศ. 53 นีโรได้แต่งงานกับคลอเดีย ออคเตเวีย ซึ่งเป็นลูกสาวของจักรพรรดิคลอดิอุส
  • ค.ศ. 54 วันที่ 13 ตุลาคม จักรพรรดิคลอดิอุส ถูกลอบฆ่า จนเสียชีวิต นีโรจึงได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิรัชกาลที่ 5 นีโรปกครองจักรวรรดิโรมันได้อย่างสงบสุขเรื่อยมาจนกระทั่ง
  • ค.ศ. 58 นีโรได้พบกับหญิงงามคนหนึ่งชื่อว่าปอปเปีย นีโรสนิทสนมกับปอปเปียอย่างรวดเร็ว และในปีเดียวกัน นีโรก็แต่งงานกับปอปเปีย และแต่งตั้งเพื่อนสนิทชายของปอปเปียนามว่า ออตโต เป็นที่ปรึกษาส่วนตัว ทั้งคู่ปรนนิบัติและยุยงนีโรจนเกิดความลุ่มหลงในอำนาจ เกียจคร้านไม่สนใจหน้าที่การบริหารบ้านเมือง และเริ่มพยายามวางตัวเป็นศิลปินมือฉมัง บังคับประชาชนให้เข้าชมการแสดงของพระองค์เมื่อพระองค์อยากแสดง และห้ามใครลุกไปไหนตลอดการแสดง แต่ความจริงแล้วนีโรไม่ค่อยมีความสามารถทางด้านนี้เท่าใดนัก แต่ไม่มีใครกล้าบอกนีโร
  • ค.ศ. 59 พระนางอากริพพินามองเห็นความเปลี่ยนไปของนีโร และเริ่มจะทนไม่ไหวของการที่นีโรเปลี่ยนไปอย่างนี้ จึงพยายามตักเตือนนีโรเพื่อดึงนีโรกลับมาให้เหมือนเดิม แต่กลับกลายเป็นว่าทำให้นีโรและพระนางอากริพพินาระหองระแหงกัน ปอปเปียและออตโต จึงฉวยโอกาสนี้ยุยงให้นีโรฆ่านางอากริพพินาทิ้งเสีย โดยใช้วิธีวางแผนลอบสังหาร แผนนี้มีเพียงนีโร ปอปเปีย และออตโตเท่านั้นที่รู้ แผนการลอบสังหารครั้งแล้วครั้งเล่าก็ทำไม่สำเร็จ จนกระทั่งพระนางอากริพพินารู้เข้าถึงการที่นีโรลอบสังหารตน จึงช้ำใจฆ่าตัวตาย
  • ค.ศ. 62 นีโรหย่าขาดกับนางคลอเดีย ออคเตเวีย และในปีเดียวกันนั้น นางก็เสียชีวิต อย่างลึกลับ จนถึงปัจจุบันยังหาสาเหตุไม่ได้
  • ค.ศ. 64 วันที่ 21 มกราคม ปอปเปียได้ให้กำเนิดลูกสาวของตนกับนีโร ชื่อว่า คลอเดีย ออกุสตา ซึ่งเป็นลูกคนแรกของนีโร นีโรดีใจมาก จึงสถาปนาปอปเปียเป็นจักรพรรดินี และจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต แต่ 4 เดือนต่อมา คลอเดีย ออกุสตา ก็ป่วยจนเสียชีวิต นีโรและปอปเปียเศร้ามาก นีโรจึงประกาศให้คลอเดีย ออกุสตา เป็นเทพีองค์ใหม่ของโรมัน สร้างรูปบูชาและจัดนักบวชไว้คอยรับใช้รูปบูชา
  • ค.ศ. 64 วันที่ 18 กรกฎาคม ตอนกลางคืน เกิดไฟไหม้ขึ้นที่ร้านขายวัตถุไวไฟแห่งหนึ่งในกรุงโรม ประกอบกับการที่ถนนกรุงโรมในช่วงนั้นแคบ ทำให้ไฟจากร้านค้าวัตถุไวไฟนั้น ลุกลามไปยังบ้านเรือนหลังอื่นๆอย่างรวดเร็ว และไม่นานนัก ไฟก็ไหม้ทั่วเมือง นีโรรู้ข่าวก็รีบมาดูเปลวเพลิงที่หอคอยมิเซนุส (Maecenas) แล้วก็บอกว่าเปลวเพลิงนั้นช่างสวยงาม นั่งมองไฟผลาญกรุงโรมอย่างสบายอารมณ์ พร้อมทั้งนำเครื่องดนตรีมาบรรเลงอย่างสุนทรีย์โดยไม่ส่งทหารไปช่วยดับไฟ
  • ค.ศ. 64 วันที่ 25 กรกฎาคม เปลวเพลิงที่ผลาญกรุงโรมมาตลอด 6 วัน 6 คืนดับลงในวันที่ 7 เผาบ้านเผาเรือนไป 132 หลัง ใน 4 หมู่บ้าน นีโรสั่งให้เวนคืนที่ดินจำนวนหนึ่งมาสร้างพระราชวังทองคำ (Golden Palace) ประกอบกับการที่นีโรไม่ส่งทหารไปช่วยดับไฟ และในอดีตพระองค์เคยคิดจะเปลี่ยนชื่อกรุงโรมเสียใหม่ว่า กรุงนีโรโพลิส (Neropolis) ประชาชนจึงปักใจเชื่อว่านีโรเป็นผู้เผากรุงโรม (นักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเองก็บอกว่ามีความเป็นไปได้ที่นีโรจะเป็นผู้เผากรุงโรม)
นีโรจึงสุ่มสี่สุ่มห้าบอกไปว่าผู้ที่นับถือลัทธิคริสเตียน (ศาสนาคริสต์เมื่อเกือบสองพันปีก่อนในจักรวรรดิโรมันเป็นเพียงแต่ลัทธิเล็กๆ มิใช่ศาสนาอันยิ่งใหญ่เหมือนปัจจุบัน) เป็นกลุ่มคิดกบฎและพยายามเผาโรม จึงเกิดเป็นการประหารหมู่ชาวคริสเตียนในโรมันด้วยข้อหาเผาโรม ประหารโดยวิธีให้อดอาหารสัตว์ป่าในโคลอสเซียมจนหิวโซ และนำชาวคริสเตียนไปปล่อยที่สนามโคลอสเซียม และปล่อยสัตว์ป่าให้มารุมฉีกทึ้งชาวคริสเตียนต่อหน้าผู้ชม นอกจากนี้ยังเก็บภาษีอย่างหนักเพื่อมาซ่อมแซมบ้านเมืองและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ล่มจมของโรม ทำให้ประชาชนคลางแคลงใจในนีโร จนเกิดเป็นคำติดปากประชาชนชาวโรมว่า "เนโรเผาโรม" (Nero Burning Rome) ซึ่งในปัจจุบัน วลีอายุกว่า 2,000 ปีนี้ ได้ถูกใช้เป็นชื่อโปรแกรมซอฟต์แวร์เขียนแผ่นซีดี/ดีวีดี
แต่นีโรก็เปิดพระราชวังให้คนที่ไร้บ้านมาอาศัย พร้อมทั้งจัดหาข้าวน้ำให้ประชาชนดื่มกินฟรี นอกจากนี้ยังสั่งให้ออกแบบการสร้างเมืองใหม่ให้ถนนกว้างขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดเหตุแบบนี้ขึ้นอีก และเพื่อไม่ให้ชาวบ้านที่มีโฉนดต้องเสียที่ดินไปเพราะการขยายถนนไปเบียด จึงจัดสรรที่ดินใหม่ให้เขตบ้านเรือนและถนนแผ่กว้าง ทำให้ความเป็นไปได้ที่นีโรจะเป็นผู้เผาโรมลดลง ชาวบ้านบางส่วนก็เริ่มเชื่อใจ และจนถึงปัจจุบันยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นต้นเหตุของเพลิง
แต่ที่กล่าวมานั้น ชาวบ้านที่เชื่อใจเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ชาวบ้านหลายส่วนไม่เชื่อใจนีโร และประท้วงถอดถอนนีโร เป็นการประท้วงที่รุ่นแรงและยืดเยื้อ
  • ค.ศ. 66 ปอปเปียตั้งครรภ์อีกครั้ง แต่นีโร กำลังเครียดกับกลุ่มผู้ประท้วงที่จะปลดตนจากตำแหน่งจักรพรรดิให้ได้ จึงไม่ค่อยได้มาอยู่ที่วังมาดูแลปอปเปียและลูกในครรภ์ วันหนึ่งในปีเดียวกันนั้น นีโรกลับมาอยู่ที่วัง และพูดจาบางอย่างที่ทำให้ปอปเปียโมโห ปอปเปียจึงด่าว่านีโรอย่างหนัก นีโรที่กำลังเครียดจึงพลั้งมือฆ่าปอปเปียตายพร้อมทั้งลูกในครรภ์
  • ค.ศ. 67 นีโรเครียดจัด ประกอบกับช่วงนั้นที่กรีซกำลังจะจัดกีฬาโอลิมปิกขึ้น นีโรตัดสินใจไปร่วมแข่งขัน ทั้งๆที่บ้านเมืองยังตึงเครียด ทิ้งภาระหน้าที่ไว้กับสภาสูง ระหว่างที่นีโรไม่อยู่นั้น สภาสูงลงมติว่านีโรไม่ควรเป็นจักรพรรดิอีกต่อไป...
  • ค.ศ. 68 นีโรกลับจากกีฬาโอลิมปิก สภาสูงจึงส่งคนมาจับกุมโค่นอำนาจจักรพรรดินีโร นีโรจึงฆ่าตัวตายในวันที่ 9 มิถุนายนขณะอายุไม่ถึง 31 ปี และการที่พระองค์ไม่ทีทายาทเลย ทำให้ราชวงศ์จูลิโอ-คลอเดียน ต้องสิ้นสุดลง


อีกมุมมองหนึ่งของนักประวัตศาสตร์ กรณีข้อกล่าวหา เนโรเผากรุงโรมเมื่อ ค.ศ. 64

จักรพรรดินีโร
"แทกซิตัส" นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันที่มีชื่อเสียงในยุคของนีโรได้บันทึกข้อกล่าวหาไว้และถูกเชื่อถือกันมาตลอดระยะเวลา 2,000 กว่าปี ดังนี้
  1. ในระหว่างที่เนโรออกไปตากอากาศที่แอนติอุมเมืองชายทะเลได้เกิดเพลิงไหม้ในกรุงโรมและเมื่อเนโรทราบข่าวแต่พระองค์ก็ไม่เร่งรีบกลับพระนครอย่างใด
  2. คฤหาสถ์ของบรรดาวุฒิสมาชิกโรมันที่สร้างจากอิฐที่ไม่น่าติดไฟ แต่กลับถูกเพลิงเผาทำลายไปสิ้นนั้นน่าจะเกิดจากการวางเพลิงจากภายในแล้วสั่งทหารโรมันคอยเฝ้าขู่เพื่อไม่ให้มีการดับไฟ เนื่องจากความโกรธแค้นที่บรรดาวุฒิสมาชิกไม่ยอมอนุมัติให้พระองค์สร้างกรุงโรมใหม่
  3. ทิศทางเพลิงดูวิปริตผิดธรรมดา ไฟลามขึ้นสู่ทิศเหนือ และบ้างก็ลงใต้ ทั้งที่ลมพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นลักษณะของการวางเพลิงอย่างชัดเจน
ปัจจุบัน เอริก วาร์นเนอร์ และ เฮนรี่ เฮิร์สต์ นักประวัติศาสตร์สองท่านที่มีชื่อเสียงไม่เชื่อในบันทึกของแทกซิตัส เนื่องจากในขณะที่กรุงโรมเกิดเพลิงไหม้นั้นแทกซิตัสมีอายุเพียง 8 ขวบ ซึ่งเข้าใจว่าแทกซิตัสอาจจะบันทึกตามคำบอกกล่าวของชาวโรมในสมัยนั้น โดยมีข้อสังเกตว่า
  1. แท้จริงแล้วมีบันทึกจากนักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยเนโรบันทึกไว้ว่า เมื่อเนโรทราบข่าวการเกิดเพลิงไหม้ก็รีบรุดกลับกรุงโรมทันที และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการหน่วยทหารดับเพลิงแห่งโรมด้วยพระองค์เอง
  2. ได้มีการทดลองสร้างคฤหาสถ์จำลองแบบโรมันซึ่งก่อด้วยอิฐจริงแล้วจุดไฟเผา ปรากฏว่าเมื่อโครงสร้างที่เป็นไม้ภายในไหม้ไฟทำให้เกิดความร้อนถึง 1,100 ดีกรี แม้อาคารที่ก่ออิฐก็แตกพังทลาย
  3. วิลล่าของเนโรชื่อ โดมุส ทรานซิโตเรีย ที่ทอดยาวตั้งแต่เนินพาลาทีนไปจนถึงเอสควอลีนก็ถูกไฟเผาไปด้วยเช่นกัน
  4. กลไกการเกิดเพลิงไหม้ใหญ่เนื่องจากกรุงโรมถูกล้อมด้วยเนินเขาสำคัญ 7 ลูก เมื่อไฟไหม้หนักขึ้นก็จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนมากขึ้น บนเนินเขาเตี้ยๆ ยังพอมีออกซิเจนเหลืออยู่มากกว่าพื้นดิน ไฟจึงโหมกระพือไปหาออกซิเจนทางเนินเขาที่อยู่ทิศเหนือบ้าง ทิศใต้บ้าง เป็นเรื่องปกติ
อย่างใดก็ตามแต่ นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าเนโรมีความผิดปกติทางจิตจริง โดยหลักฐานและบันทึกที่ปรากฏอยู่มากมาย แต่มีนักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยกับเนโรอยู่หลายท่านที่บันทึกเรื่องราวที่เป็นธรรมกับเนโรด้วยเช่นกัน เช่น
โยเซฟัส (Josephus) นักประวัติศาสตร์ที่เกิดและโตในรัชกาลของเนโร และมีอายุยืนถึง 70 ปี เขากล่าวว่า แท็กซิตัส และ ซูโตเนียส บันทึกกล่าวว่าร้ายใส่เนโรจนเกินไป เพราะทั้งสองคนนี้อยู่ในสมัยหลังเนโรถึง 50 ปี และสิ่งที่บันทึกล้วนแล้วเป็นสิ่งที่ได้แต่ฟังมา ไม่ได้เห็นด้วยตาตนเอง
มาร์คัส แอนเนียส ลูคานัส นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยเนโรอีกคนหนึ่งบันทึกว่า ไพร่ฟ้าต่างหน้าใสเมื่ออยู่ใต้การปกครองของเนโร เศรษฐกิจของกรุงโรมในขณะนั้นดีมากประชากรต่างร่ำรวย และเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่นั้นถูกเป็นเครื่องมือหาความชอบธรรมให้กับเหล่าสมาชิกสภาสูงในการโค่นอำนาจจักรพรรดิ์เนโร
Nero 1.JPG
นีโร
จักรพรรดิ แห่ง จักรวรรดิโรมัน

Bust of Nero at Musei CapitoliniRome
พระนามเต็มLucius Domitius Ahenobarbus
(from birth to AD 50) ;
Nero Claudius Caesar Drusus Germanicus (from 50 to accession) ;
Nero Claudius Caesar Augustus Germanicus (as emperor)
ราชวงศ์Julio-Claudian
สมัย13 ตุลาคม ค.ศ. 54 - 9 มิถุนายน ค.ศ. 68
(Proconsul from 51)
รัชกาลก่อนหน้าจักรพรรดิคลอเดียส
รัชกาลถัดไปจักรพรรดิกาลบา
เกิด15 ธันวาคม ค.ศ. 37Antium
เสียชีวิต9 มิถุนายน ค.ศ. 68 (30 ปี), Just outside Rome
บิดาGnaeus Domitius Ahenobarbus
มารดาAgrippina the Younger
บุตร/ธิดาClaudia Augusta
หมวดหมู่: จักรพรรดิโรมัน
จักรพรรดิโรมันตะวันตก - จักรพรรดิไบแซนไทน์