วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประเทศอียิปต์


สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์(Egypt) (อาหรับ: مصر (มิศรุ), ถ่ายเขียนเป็นอักษรโรมันว่า Mişr หรือ Maşr ในภาษาถิ่นของอียิปต์) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด
ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 กม.² ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรซีนาย (ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง
ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 กม.2) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง
ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ
ชื่อ Egypt มาจากชื่อภาษาละตินว่า Aegyptus และชื่อภาษากรีก ว่า Αιγυπτος(Aiguptos: ไอกึปตอส นิยมใช้ในภาษาไทยว่า ไอยคุปต์) จากภาษาอียิปต์โบราณว่า Hi-ku-ptah: ฮิ-คุ-ปตาห์ ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองเทเบส

รัฐบาลอียิปต์ปัจจุบันต้องเผชิญภาระที่หนักหน่วงในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีหนี้สินอยู่ประมาณ 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ อียิปต์ประสบปัญหาด้านระบบราชการและรัฐวิสาหกิจซึ่งมีขนาด ใหญ่และเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจ อัตราการเพิ่มของประชากรค่อนข้างสูง รัฐบาลอียิปต์ได้ใช้ความพยายามที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจ ให้มีการค้าเสรี การแปรรูปกิจการของรัฐไปสู่ภาคเอกชน ส่งเสริมการลงทุน กระตุ้นรัฐวิสาหกิจให้เพิ่มผลผลิต ผลเลิกการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อียิปต์ได้ขอความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลกParis Club รวมทั้งจากประเทศกลุ่มอาหรับอียิปต์ได้ทำการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยใช้นโยบายเศรษฐกิจการตลาดให้มีการค้าเสรี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ยกเลิกควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสะดวกขึ้น
ผลจากการปฏิรูปดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจของอียิปต์กระเตื้องดีขึ้นสามารถ แก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณลดลงมาก ลดปัญหาเงินเฟ้อลงได้ในระดับหนึ่งรายได้หลักของอียิปต์จากน้ำมันซึ่งผลิตได้วันละ 950,000 บาร์เรลและส่งออกขายครึ่งหนึ่ง ในแต่ละปีมีรายได้ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการท่องเที่ยว ประมาณปีละ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าผ่านคลองสุเอซปีละประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากแรงงานอียิปต์ในต่างประเทศ ประมาณ 5 ล้านคน ส่วนใหญ่ทำงานในตะวันออกกลางในซาอุดีอาระเบียประมาณ 1 ล้านคน ในลิเบียประมาณ 1.5 ล้านคน ส่งเงินเข้าอียิปต์ประมาณปีละ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ภายหลังการก่อวินาศกรรมในสหรัฐ ฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทำให้อียิปต์ต้องสูญเสียรายได้ ประมาณ 1.5 – 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลอียิปต์ คาดว่า รายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงประมาณ ร้อยละ 20 และการส่งออก ร้อยละ 10
ในอดีตชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าและมีกษัตริย์ที่เรียกว่า ฟาโรห์ และในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย พระเจ้าอโศกได้ทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอียิปต์และได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตเมืองอเล็กซานเดรีย  แต่ในปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ 94% นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ อีก 6% นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคอปติก



ช่วงปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) สมัยประธานาธิบดีนัสเซอร์ อียิปต์เน้นความเป็นปึกแผ่นในกลุ่มประเทศอาหรับ และพยายามเข้าไปมีบทบาทสำคัญในขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ซึ่งในช่วงนี้ อียิปต์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต ได้รับความช่วยเหลือทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหารจากสหภาพโซเวียต และเข้ายึดคลองสุเอซเป็นของรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) เพื่อหารายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมจากคลองสุเอซเป็นทุนสร้างเขื่อนอัสวาน
ปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) อียิปต์ส่งทหารไปยึดเมือง Sharm El-Shekh บริเวณตอนใต้ของแหลมไซนาย หลังจากได้เจรจาให้กองทหารนานาชาติถอนออกไปจากไซนายแล้ว พร้อมกับได้ทำการปิดช่องแคบ Tiran เพื่อมิให้อิสราเอลเดินเรือผ่าน การปฏิบัติการเช่นนี้ส่งผลให้เกิดสงครามหกวัน (Six – day War) กับอิสราเอล ฝ่ายอิสราเอลได้รับชัยชนะ อียิปต์และ พันธมิตรอาหรับได้สูญเสียดินแดน ได้แก่ ฉนวนกาซาและแหลมไซนายให้แก่อิสราเอล นับตั้งแต่ประธานาธิบดีซาดัตเข้าดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) ความสัมพันธ์บางประเทศในอาหรับ อาทิ ลิเบีย และซีเรีย เย็นชาลง อียิปต์หันไปพึ่งพาสหรัฐอเมริกา ให้ช่วยไกล่เกลี่ยในการเจรจาสันติภาพกับอิสราเอล
เมื่อเกิดสงคราม 18 วันจากกรณีอียิปต์ส่งทหารข้ามคลองสุเอซไปยึดครองดินแดนที่สูญเสียคืนการสู้รบได้ยุติลงโดยสหรัฐฯ เป็นผู้ไกล่เกลี่ย โดยได้ตกลงให้มีเขตปลอดทหารระหว่างเขตแดนของอียิปต์และอิสราเอล ภายใต้การควบคุมของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติซึ่งยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน อียิปต์หันไปพึ่งพาสหรัฐฯ มากขึ้น ยังผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์กับสหภาพโซเวียตถดถอยลง ในปี พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) อียิปต์ได้ยกเลิกสนธิสัญญามิตรภาพกับสหภาพโซเวียต และให้ที่ปรึกษาด้านการทหารของโซเวียตออกจากประเทศ ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่อียิปต์เพิ่มมากขึ้นจนถึงปัจจุบันปีละประมาณ 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ประธานาธิบดีซาดัตได้เดินทางไปเยือนอิสราเอล เมื่อปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) เพื่อเจรจาสันติภาพ และอียิปต์ได้มีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่แคมป์เดวิดเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) มีผลให้อียิปต์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล อิสราเอลยินยอมคืนดินแดนไซนายทั้งหมด (ยกเว้นทาบา) ให้แก่อียิปต์เมื่อปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) แต่ผลจากการลงนามดังกล่าวทำให้ประเทศอาหรับส่วนใหญ่ตัดความสัมพันธ์กับอียิปต์ และอียิปต์ถูกขับออกจากสันนิบาตอาหรับเมื่อประธานาธิบดีมูบารัคเข้าบริหารประเทศ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ได้พยายามดำเนินนโยบายที่จะนำอียิปต์กลับสู่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับกลุ่มประเทศอาหรับ ด้วยการดำเนินการในด้านต่าง ๆ อาทิ สนับสนุนขบวนการปาเลสไตน์ สนับสนุนอิรักในสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่าน สนับสนุนคูเวตในกรณีอิรักเข้ายึดครองคูเวต หลังจากนั้น ประเทศอาหรับต่าง ๆ ได้ปรับความสัมพันธ์ทางการทูตตามปกติกับอียิปต์ ในขณะเดียวกัน อียิปต์ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากสหรัฐฯ และชาติตะวันตกในการแสวงหาลู่ทางแก้ไขปัญหาตะวันออกกลาง ประธานาธิบดีมูบารัค ดำเนินบทบาทสำคัญในการประสานระหว่างกลุ่มอาหรับและ เป็นตัวเชื่อมในการเจรจากับอิสราเอลในปัญหาตะวันออกกลาง และพยายามแสดงบทบาทนำในกลุ่มประเทศอาหรับและแอฟริกา

























วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

นักมานุษยวิทยาคนสำคัญชาวฝรั่งเศส "โคล้ด เลวี่-สเตราส์"


 

นักมานุษยวิทยาคนสำคัญชาวฝรั่งเศส "โคล้ด เลวี่-สเตราส์" เสียชีวิตในวัย 100 ปี

"โคล้ด เลวี่-สเตราส์" ผู้ก่อตั้งสาขาวิชามานุษยวิทยาเชิงโครงสร้างได้เสียชีวิตลงในวัยหนึ่งศตวรรษ เผยเป็นผู้ต่อต้านท้าทายว่าวัฒนธรรมยุโรปไม่ได้ดีเลิศสูงส่งกว่าวัฒนธรรมอื่น
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า "โคล้ด เลวี่-สเตราส์" หนึ่งในปัญญาชนชาวฝรั่งเศสที่ทรงอิทธิพลสูงสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และเป็นผู้ก่อตั้งสำนักคิดมานุษยวิทยาเชิงโครงสร้างขึ้นในช่วงทศวรรษ 1950 ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา ในวัย 100 ปี

เลวี่-สเตราส์ เกิดที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อปี ค.ศ.1908 (พ.ศ.2451) ในครอบครัวที่มีพ่อและแม่เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เขาเติบโตในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์

เดิมที เลวี่-สเตราส์ เป็นนักศึกษาที่ชาญฉลาดผู้มีความสามารถดีเยี่ยมในวิชาธรณีวิทยา, นิติศาสตร์ และปรัชญา จนกระทั่งเมื่อมีโอกาสเดินทางไปสอนหนังสือในสาขาวิชาสังคมวิทยา ที่ประเทศบราซิล ในปี ค.ศ.1935 (พ.ศ.2478) เขาจึงเริ่มให้ความสนใจกับสาขาวิชามานุษยวิทยา

ที่ประเทศบราซิล เลวี่-สเตราส์ได้เดินทางไปศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชนเผ่าท้องถิ่น รวมทั้งได้ริเริ่มพัฒนาทฤษฎีและวิธีวิทยาในการศึกษากลุ่มชนเผ่าท้องถิ่นเหล่านั้น ซึ่งต่อมาได้มีคุณูปการอย่างลึกซึ้งต่อการศึกษาวิชามานุษยวิทยา

หลังจากเดินทางกลับมาประเทศฝรั่งเศส เลวี่-สเตราส์ได้ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารของกองทัพในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่หลังจากที่ฝรั่งเศสถูกกองทัพนาซีเยอรมันบุกเข้ายึดครองประเทศ เลวี่-สเตราส์ก็ตระหนักว่าตนเองตกอยู่ในอันตรายเนื่องมาจากการมีเชื้อสายยิวของเขา ดังนั้น นักวิชาการชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิวคนนี้จึงตัดสินใจลี้ภัยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา

ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เลวี่-สเตราส์ ได้เข้าร่วมขบวนการ "เสรีฝรั่งเศส" ซึ่งทำงานร่วมกับรัฐบาลอเมริกันในการปลดปล่อยประเทศฝรั่งเศสจากการปกครองของนาซี หลังสงครามสิ้นสุดลง เขาจึงได้เดินทางกลับประเทศบ้านเกิด และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกในปี ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491)

นับแต่นั้นเป็นต้นมา เลวี่-สเตราส์ ก็ผลิตผลงานวิชาการทางด้านมานุษยวิทยาชิ้นสำคัญออกมาเป็นจำนวนมาก โดยในช่วงทศวรรษ 1950 เขาได้ใช้ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นและนิทานปรัมปรามาเป็นเครื่องมือที่แสดงให้เห็นว่า แม้มนุษย์ในทุกสังคมจะมีแบบแผนทางพฤติกรรมและความคิดร่วมกัน แต่พฤติกรรมของมนุษย์เหล่านั้นก็วางอยู่บนพื้นฐานของระบบตรรกะที่แตกต่างหลากหลายกันไปในแต่ละสังคม ข้อเสนอดังกล่าวได้ท้าทายระบบคิดที่เห็นว่าวัฒนธรรมยุโรปหรือตะวันตกมีเอกลักษณ์และมีความสูงส่งกว่าวัฒนธรรมอื่น ซึ่งสอดคล้องกับความคิดต่อต้านลัทธิอาณานิคมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวพอดี

เลวี่-สเตราส์ ยังเสนออีกว่า ภาษา, การสื่อสาร และระบบตรรกะทางคณิตศาสตร์ จะเปิดเผยให้เราได้เห็นถึงระบบพื้นฐานของสังคม และความสัมพันธ์ในครอบครัว รวมทั้งระบบความเชื่อของมนุษย์นั้น ถือเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะใช้วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนที่เชื่อมโยงสถาบันระดับพื้นฐานเหล่านั้นเข้ากับสถาบันอื่น ๆ ของสังคม

ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี่ แห่งฝรั่งเศส ได้กล่าวไว้อาลัยแด่โคล้ด เลวี่-สเตราส์ ว่า "เขาเป็นหนึ่งในนักชาติพันธุ์วิทยาผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล" และ "เป็นผู้สร้างสรรค์วิชามานุษยวิทยาสมัยใหม่"

ทั้งนี้ นอกจากจะมีความสามารถในการเขียนงานวิชาการสาขามานุษยวิทยาแล้ว เลวี่-สเตราส์ยังถือเป็นปัญญาชนผู้มีอารมณ์ขันอันคมคาย โดยเขาเคยกล่าวติดตลกถึงนามสกุลของตนเองที่ไปพ้องกับชื่อของกางเกงยีนส์ยี่ห้อดังระดับโลกว่า "ไม่มีปีใดเลย ที่จะไม่มีคำสั่งซื้อกางเกงยีนส์ถูกจัดส่งมาที่ผม"

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ชอร์ช เดอ ลา ตูร์ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญของฝรั่งเศส


ชอร์ช เดอ ลา ตูร์ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญของฝรั่งเศส





“นักบุญแมรี แม็กดาเลน” โดย ชอร์ช เดอ ลา ตูร์





“คนเล่น Hurdy-gurdy” นองส์ ประเทศฝรั่งเศส




ชอร์ช เดอ ลา ตูร์ หรือ จอร์จ เดอ ลา ทัวร์ (Georges de La Tour) (13 มีนาคม พ.ศ. 2136 - 30 มกราคม พ.ศ. 2195) จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 17

มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน โดยการเน้นการใช้ "ค่าต่างแสง" (Chiaroscuro) หรือการใช้ความตัดกันอย่างชัดเจนของแสงและเงา

ชีวิต

ชอร์ช เดอ ลา ตูร์ เกิดที่เมืองวิค เซอร์ เซลล์ในแคว้นลอเรนซึ่งผนวกกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1641 ในระหว่างที่เดอ ลา ตูร์ยังมีชีวิตอยู่ จากใบรับศีลจุ่มเดอ ลา ตูร์เป็นลูกของ ฌอง เดอ ลา ตูร์คนอบขนมปังและซิบีลล์ เดอ ลา ตูร์ ชื่อเดิม โมเลียง

กล่าวกันว่าซิบีลล์มาจากครอบครัวที่มียศศักดิ์ เดอ ลา ตูร์เป็นลูกคนที่สองในบรรดาพี่น้องเจ็ดคน

เราไม่ทราบรายละเอียดการศึกษาเบื้องต้นของเดอ ลา ตูร์ แต่สรุปได้ว่าได้เดินทางไปอิตาลีหรือเนเธอร์แลนด์เมื่อเริ่มงานใหม่ๆ

งานของเดอ ลา ตูร์มีลักษณะเป็นบาโรกแบบธรรมชาติของคาราวัจโจ แต่เดอ ลา ตูร์คงได้ลักษณะนี้มาจาก “การเขียนแบบคาราวัจโจ” จิตรกรชาวเนเธอร์แลนด์ ตระกูลการเขียนภาพแบบอูเทรคช (Utrecht School)

และจิตรกรทางยุโรปตอนเหนือ เดอ ลา ตูร์มักจะเปรียบกับเฮ็นดริค เทอร์บรุกเก็น (Hendrick Terbrugghen)

ในปี ค.ศ. 1617 เดอ ลา ตูร์ ก็แต่งงานกับเลอเนิร์ฟ จากครอบครัวขุนนางย่อยๆ และในปี ค.ศ. 1620 ก็ได้สร้างสติวดิโอที่เมืองเล็กๆ ชื่อ ลูเนอวิลล์

ระหว่างนี้เดอ ลา ตูร์ ก็เขียนภาพเกี่ยวกับศาสนาและฉากอื่นๆ ในปี ค.ศ. 1638 ก็ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่ง “จิตรกรของพระเจ้าแผ่นดิน” (แห่งฝรั่งเศส) นอกจากนั้นเดอ ลา ตูร์ก็ยังทำงานให้ดู๊คแห่งลอเรนระหว่างปี ค.ศ. 1623–1624

แต่ลูกค้าหลักคือชาวเมืองที่มีฐานะ ทำให้เดอ ลา ตูร์มีฐานะดี ระหว่างปี ค.ศ. 1639–1642 ไม่มีหลักฐานกล่าวถึงเดอ ลา ตูร์ ในลูเนอวิลล์ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเดอ ลา ตูร์เดินทาง

บลันท์ มองเห็นว่าลักษณะงานตั้งแต่จุดนี้เริ่มเปลี่ยนไป มีอิทธิพลของ เจอราร์ด ฟาน โฮนท์ฮอร์สต์

เดอ ลา ตูร์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการฟื้นฟูศาสนาในลอเรน ที่นำโดยนักบวชลัทธิฟรานซิสกัน

เดอ ลา ตูร์ๆ จะเขียนภาพจากเรื่องราวศาสนาเป็นส่วนใหญ่ แต่ใช้วิธีการวาดภาพของเดอ ลา ตูร์จะเป็นวิธีของศิลปะร่วมสมัย

เดอ ลา ตูร์และภรรยาเสียชืวิตจากโรคระบาดเมื่อปี ค.ศ. 1652 เอเทียงลูกชายเป็นลูกศิษย์

ภาพเขียน

งานสมัยต้นของชอร์ช เดอ ลา ตูร์ แสดงอิทธิพลของคาราวัจโจซึ่งอาจจะได้รับมาจากจิตรกรเนเธอร์แลนด์ร่วมสมัย ภาพ “โกงไพ่” (Le Tricheur) และขอทานทะเลาะกันมาจากผู้ที่เรียกว่า คาราวัจจิสติ

และ จาร์ค เบลลานจ (Jacques Bellange) จิตรกรลอเรนด้วยกัน รูปเขียนกลุ่มนี้เชื่อกันว่าเขึยนเมื่อ เดอ ลา ตูร์ เพิ่งเริ่มเขียนภาพ

เดอ ลา ตูร์ มีชื่อเสียงในการเขียนแสงกลางคืน ซี่งคาราวัจจิสตินำมาจากคาราวัจโจและเดอ ลา ตูร์ วิวัฒนาการขึ้นอีกมากและนำมาใช้ในการเขียนภาพชีวิตร่วมสมัยและศิลปะศาสนา

เดอ ลา ตูร์ เริ่มเขียนวิธีนี้ราวต้นคริสต์ทศวรรษ 1640 โดยใช้ความตัดกันอย่างชัดเจนของแสงและเงา ที่เรียกว่า “ค่าต่างแสง” (chiaroscuro) องค์ประกอบที่เป็นเรขาคณิต และการวางรูปแบบที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน

งานของเดอ ลา ตูร์ค่อยวิวัฒนาการมามีลักษณะนิ่ง และ ง่ายขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการนำคุณค่าของคาราวัจโจมาใช้ ซึ่งแตกต่างจากคุณค่าที่ใช้โดย จูเซพเป เดอ ริเบอรา (Jusepe de Ribera) และ ผู้ใช้ “ค่าต่างแสงหนัก” (Tenebrism) อึกกลุ่มหนึ่ง

เดอ ลา ตูร์ มักจะเขียนภาพต่อเนื่องของหัวข้อเดียวกัน (คล้ายวิธีที่โคลด โมเนท์ใช้) และมีงานเขียนไม่มาก เอเทืยงลูกชายผู้เป็นลูกศิษย์และยากที่จะบอกความแตกต่างของงานเขียนของจิตรกรสองคนนี้

เช่นภาพ “การศึกษาของพระแม่มารี” ที่พิพิธภัณฑ์ฟริค นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา หลังจากเดอ ลา ตูร์เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1652 งานของเดอ ลา ตูร์ก็ลืมกันไป

แต่มาพบอีกครั้งโดยเฮอร์มัน ฟอส นักวิชาการชาวเยอรมันเมื่อปี ค.ศ. 1915 และเมื่อมีการแสดงภาพของเดอ ลา ตูร์ ที่ปารีสก็ยิ่งทำให้มีผู้สนใจมากขึ้น

ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็มีการพบภาพเขียนอื่นๆ ของเดอ ลา ตูร์ นอกจากนั้นก็มีการลอกเลียนโดยมืออาชีพอีกมากตามความต้องการของสาธารณะ

ลักษณะบางแง่ของเดอ ลา ตูร์ ยังเป็นที่ถกเถียงกันในบรรดานักประวัติศาสตร์ศิลปะ